กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3597
ชื่อเรื่อง: | ความคงทนของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีตผสมเถ้าถ่านหินภายใต้สิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 5 ปี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Durability of recycle aggregate concrete containing fly ash under 5-year exposure in marine site |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิเชียร ชาลี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คอนกรีต -- การผสม เถ้าถ่านหิน -- การใช้เป็นสารเติมแต่ง สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและเถ้าถ่านหินต่อการแทรกซึมของ คลอไรด์ การกัดกร่อนเหล็กเสริม และกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีต ภายใต้ สภาวะแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 5 ปีโดยใช้เถ้าถ่านหินจากแม่เมาะแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมจากเศษคอนกรีตและมวลรวมจากธรรมชาติในอตัราส่วน ร้อยละ 0, 15, 25, 35และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (W/B) เท่ากับ 0.40, 0.45 และ 0.50 หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 200x200x200 มม 3 และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนยก์ลาง 12 มม. ยาว 50 มม. ให้มีระยะหุ้มของคอนกรีตหนาเท่ากับ 10, 20, 50 และ 75 มม. เพื่อทดสอบการกดักร่อนเหล็กเสริมและการแทรกซึมของคลอไรด์ตลอดจนหล่อ ตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาด 100×200 มม2 . เพื่อทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หลังจากบ่มคอนกรีตในน้ำ เป็นเวลา 28 วัน นำตัวอย่างทดสอบไปแช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลบริเวณชายฝั่งในสภาวะเปียกสลับแห้ง โดยเก็บตัวอย่างทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์การกัดกร่อนเหล็กเสริมและกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุแช่น้ำทะเล 5 ปี ผลการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใชม้วลรวมจากเศษคอนกรีตทุกส่วนผสม มีการสูญเสียกำลัง อัดหลังแช่น้ำทะเลเป็นเวลา 5 ปีการใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ใน ปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลต่อการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตและการกดักร่อนเหล็กเสริมลงได้ อย่างชัดเจน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ลดลงส่งผลต่อการลดการแทรกซึมคลอไรด์ในคอนกรีต ที่ไม่ผสมเถ้าถ่านหินมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน การศึกษาคร้ังนี้พบว่า การแทนที่เถ้าถ่านหิน แม่เมาะในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ร้อยละ 15 ถึง 25 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และมี อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 มีความเหมาะสมทั้งกำลังอัดและความสามารถในการ ต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ที่จะใช้ในสิ่งแวดล้อมทะเล |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3597 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_063.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น