กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3594
ชื่อเรื่อง: การกำจัดกากน้ำตาลของโรงงานเครื่องดื่มให้เป็นสารโพรไบโอติคโดยจุลินทรีย์ที่แยกได้จากอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Produce prebiotic in form of Levan by added value of molasses
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทวัส แจ้งเอี่ยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: กากน้ำตาล
สารโพรไบโอติค
จุลินทรีย์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสืบหาจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์ลีแวนซูเครสจากถั่วเหลืองหมักและทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตสารลีแวน โดยเอนไซม์ลีแวนซูเครสนั้นเป็นเอนไซม์เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ภายเซลล์ของจุลินทรีย์ ก่อนจะถูกขับออกนอกภายเซลล์เพื่อทำการเปลี่ยนน้ำตาลซูโครสเกิดเป็นสารลีแวน เอนไซม์ลีแวนซูเครส (Levansucrase) เป็น เอนไซม์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายซูโครสได้ผลิตภัณฑ์เป็นกลูโคสและฟรุกโตสผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) และเชื่อมต่อโมเลกุลของสายฟรุกโตสกับโมเลกุลของกลูโคสที่ปลายของสายโซ่หลักเกิดเป็นสารลีแวน (Levan) ผ่านกระบวนการทรานส์ฟรุกโตซิลเลชัน (Transfructosyllation) และการวิจัยนี้ได้ศึกษาความเข้มข้นของซูโครสต่อการผลิตลีแวนด้วยเอนไซม์ ลีแวนซูเครสจากจุลินทรีย์ Bacillus siamensis ที่ถูกคัดเลือกจากถั่วเน่า พบว่าความเข้มข้นของซูโครสที่เหมาะสมต่อการผลิตลีแวนเท่ากับ 20 %w/v ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยมี Enzyme activity สูงสุด 1.00 IU/mL จากนั้นได้ทำการศึกษาการบำบัดของเสียอุตสาหกรรมอาหารที่มีองค์ประกอบของซูโครสโดยมีความเข้มข้น 20 %w/v ด้วยเอนไซม์ลีแวนซูเคร สจากจุลินทรีย์ Bacillus siamensis ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่า Enzyme activity มีค่าสูงสุด 0.92 IU/mL ปริมาณซูโครสลดลงจาก 17.42 %w/v เหลือ 13.21 %w/v ภายใน 48 ชั่วโมง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3594
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_058.pdf1.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น