กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3592
ชื่อเรื่อง: การประเมินเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถูกเสริมกำลังด้วยแผ่นไฟเบอร์ลามิเนตด้วยแบบจำลองไฟไนอิเลเมนต์ประเภทแสดงรายละเอียด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Reinforced Concrete Columns Strengthened with FRP Laminates by Detailed Finife Element Models
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อานนท์ วงษ์แก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีตเสริมเหล็ก
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้วิธีไฟไนอิลิเมนต์ในการวิเคราะห์หาแรงอัดและพฤติกรรมการรับแรงของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเริ่มจากการพัฒนาแบบจําลองไฟไนอิลิเมนต์วัสดุคอนกรีต (Exp.1, Exp.2) ทรงกระบอกขนาด 15x30 ซม. และแบบจําลองไฟไนอิลิเมนต์เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC1) หน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 20x20 ซม. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แบบจําลองกับผลการทดสอบตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ ทําการศึกษาผลของขนาดหน้าตัดเสาต่อการรับแรงอัดและความยืดหยุ่นด้วยแบบจําลองไฟไนอิลิเมนต์ (SC1-SC4) หน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 15x15, 20x20, 30x30, และ 40x40 ซม. ผลการวิเคราะห์แบบจําลอง Exp.1 และ Exp.2 เทียบกับผลการทดสอบตัวอย่างพบว่าแบบจําลองมีความถูกต้องแม่นยําสูง สามารถทํานายกําลังอัดของคอนรีตได้ดีมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้ข้อมูลค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดอัดของคอนกรีตจากผลการทดสอบคอนกรีตในห้องปฏิบัติการ แบบจําลองเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก RC1 สามารถทํานายแรงอัดสูงสุดของเสาได้ค่อนข้างดีมีค่าคลาดเคลื่อนจากผลการทดสอบเท่ากับ 2.09% และ 11.15% แต่ทำนายค่าการยุบตัว ณ ตําแหน่งแรงอัดสูงสุดได้น้อยกว่า ผลการทดสอบพอสมควร นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่าการใช้สมการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นและความเครียดอัดของคอนกรีตโดย Desayi & Krishnan [4] กับแบบจําลองไฟไนอิลิเมนต์เสาคอนกรีต เสริมเหล็ก สามารถทํานายค่าแรงอัดสูงสุดได้ดีมาก แต่อาจไม่สามารถทานายค่าการยุบตัวได้ดีเท่าที่ควรในส่วนของแบบจําลอง SC1-SC4 นั้นสรุปว่าแบบจําลองเสาให้ค่าแรงอัดสูงสุดใกล้เคียงกับค่าที่คํานวณจากสมการการออกแบบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กตาม ACI ที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ตัวคูณความเค้นอัดสูงสุดของคอนกรีต (C ) เทาก่ ับ 1.0 และเมื่อคอนกรีตเกิดการแตกร้าวเหล็กยืนของเสาที่มีหน้าตัดขนาดเล็กมีส่วนร่วมในการรับแรงอัดได้ดีกว่าเหล็กยืนในเสาหน้าตัดขนาดใหญ่และเมื่อเสาคอนกรีตที่เสริมกําลังด้วยแผ่นไฟเบอร์จะมีกําลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นตามจํานวนชั้นของแผ่นไฟเบอร์ที่เสริมกําลัง นอกจากนี้ยังมีการหดตัวหลังรับแรงอัดสูงสุดได้มากกว่าเสาที่ไม่เสริมกําลังแผ่นไฟเบอร์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3592
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_060.pdf824.25 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น