กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3583
ชื่อเรื่อง: การค้นหาและรูปแบบการแสดงออกของยีน Myo-inositol 1-Phosphate Synthase (MIPS) ในอ้อย (Saccharum offcinarum L.) ที่ได้รับสภาพเลียนแบบดินเค็ม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Gene discovery and expression pattern of Myo-inositol 1-Phosphate Synthase (MIPS) gene in sugarcane (Saccharum offcinarum L.) received mimic saline soil condition
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนากานต์ ลักษณะ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: อ้อย -- พันธุศาสตร์
อ้อย -- การปรับปรุงพันธุ์
การแสดงออกของยีน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: ยีน MIPS (Myo-inositol 1-phosphate synthase) เป็นยีนที่ควบคุมลักษณะที่พืชใช้ตอบสนองต่อดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน MIPS ในอ้อย 3 พันธุ์ พบว่า มีขนาด 1533 นิวคลีโอไทด์ เมื่อแปลรหัสเป็นกรดอะมิโนได้ 511 หน่วย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่ามี 12 ตำแหน่งที่แตกต่างกัน แต่กรดอะมิโนจะมีเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้นที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนนี้ในอ้อย 3 พันธุ์ที่ได้รับโซเดียมคลอไรด์ 100 และ 200 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 5 วัน พบว่า การแสดงออกของยีนที่รากจะมีมากกว่าที่ใบ และพบว่าที่โซเดียมคลอไรด์ 100 และ 200 มิลลิโมลาร์ การแสดงออกของยีนดังกล่าวทั้งที่ใบและรากของพันธุ์ไบโอเทค 2 จะมีการแสดงออกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นที่ 5 วัน และ 2 วันหลังได้รับโซเดียมคลอไรด์ ตามลำดับ ความแตกต่างกันของลำดับนิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนรวมทั้งระดับการแสดงออกของยีนอาจมีความเกี่ยวข้องกัน และอาจจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด gene targeted marker เพื่อใช้ช่วยคัดเลือกอ้อยที่ทนทานต่อดินเค็มได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3583
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_024.pdf992.31 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น