กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3566
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจิตติมา เจริญพานิช
dc.contributor.authorศรีสุดา นิเทศธรรม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-19T08:39:43Z
dc.date.available2019-05-19T08:39:43Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3566
dc.description.abstractการฟอกหนังเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกซึ่งมีการปลดปล่อยมลพิษที่สามารถสลายทางชีวภาพได้ต่ำออกมากับน้ำทิ้งและเป็นปัญหาหลักในสิ่งแวดล้อม ในจํานวนมลพิษที่ปล่อยออกมา โครเมียมจัดเป็นหนึ่งในสารปนเปื้อนหลักที่จําเป็นต้องกําจัดอย่างเร่งด่วน โดยปกติโครเมียมที่ถูกปล่อยออกมากับสิ่งแวดล้อมมักมีสองรูปแบบคือ ไทรวาเลนซ์โครเมียมหรือ Cr(III) ที่มีพิษต่ำ ละลายน้ําได้น้อยกว่า และมักเป็นสารอาหารที่สําคัญในการเจริญและระบบเมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์เมื่อตกค้างที่ความเข้มข้นต่ำ และเฮกซาวาเลนซ์โครเมียมหรือ Cr(VI) ที่มีพิษรุนแรงกว่าเนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งที่ละลายน้ำได้ดีในทุกค่าพีเอช จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้มีการใช้เทคนิคที่หลากหลายกําจัด Cr(VI) ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมแต่ยังเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพสูง การสลายทางชีวภาพและการดูดซับทางชีวภาพได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการกําจัดโครเมียม เนื่องจากการใช้ต้นทุนราคาที่ต่ำและใช้สารเคมีเกี่ยวข้องน้อย ได้เคยมีรายงานพบจุลินทรีย์หลายชนิดที่คัดแยกจากน้ำทิ้งและดิน แสดงศักยภาพในการกําจัดโครเมียมในอาหารเลี้ยง แต่ประสิทธิภาพในการกําจัดโครเมียมของจุลินทรีย์เหล่านี้ก็ยังจํากัดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น ค่าพีเอช อุณหภูมิ และความเค็มที่พบในน้ำทิ้ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์แรกในการค้นหาแบคทีเรียชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในการกําจัดโครเมียมที่ปนเป็อนมากับน้ำทิ้งสังเคราะห์และพบว่า Bacillus subtilis ซึ่งเป็นแบคทีเรียผลิตเอนไซมHโปรติเอสที่คัดแยกได้จากตะกอนทะเลในอ่าวไทย สามารถรีดิวซH Cr(VI) ที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น Cr(III) ได้ร้อยละ 69.5 เมื่อเลี้ยงเจริญในอาหารเลี้ยง LB ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 7.0 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และความสามารถในการรีดิวซ์ Cr(VI) จะไม่ลดลงแม้ในสภาวะที่มีเกลือปนเป็นความเข้มข้นร้อยละ 1 (น้ำหนักต่อปริมาตร) นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังสนใจที่จะทดลองใช้ขยะเศษอาหาร กากกาแฟ และกากชา เป็นตัวดูดซับทางเลือกราคาถูกในการกําจัด Cr(VI) ในน้ำทิ้งสังเคราะห์ ผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่า กระดูกหมู กากชา และกากกาแฟ เป็นตัวดูดซับทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับโครเมียม เมื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับโครเมียมของวัสดุทั้งสามในระบบปิดพบว่า การใช้กากชาและกากกาแฟจํานวน 5 กรัมต่อลิตร สามารถดูดซับ Cr(VI) ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตรที่ปนเปื้อนในน้ำทิ้งสังเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ ภายในเวลา 180 นาที ในสภาวะที่มีค่าพีเอชเท่ากับ 2.0 ด้วยการเขย่าที่ความเร็ว 250 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิช่วงกว้างตั้งแต่ 35-65 องศาเซลเซียส ขณะที่สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับโครเมียมของกระดูกหมูคือ การใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าพีเอชเริ่มต้นเท่ากับ 4.0 และมีความเข้มข้นของโครเมียมเริ่มต้นเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยความเร็วในการเขย่า 300 รอบต่อนาที เป็นเวลา 60 นาที ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ B. subtilis รวมทั้งกระดูกหมู กากชาและกากกาแฟ ที่สามารถนํามาใช้ในการกําจัดทางชีวภาพของโครเมียมในน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกหนังต่อไปในอนาคตได้th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโครเมียมth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมฟอกหนัง -- การกำจัดของเสียth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมฟอกหนัง -- การลดปริมาณของเสียth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการสร้างท่อบำบัดน้ำทิ้งที่เกิดจากกระบวนการฟอกหนังth_TH
dc.title.alternativeConstruction of an inline remover for tannery effluent treatmenten
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailjittima@buu.ac.th
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeLeather tanning is a wide common industry all over the world. The high concentrations of pollutants with low biodegradability in tannery wastewater represent a serious and actual technological and environmental challenge. Chromium is one of the major contaminants in the effluents and demands special attention. Among the two stable valence states of chromium, trivalent chromium, Cr(III) is less water soluble, less toxic, and is known as an essential nutrient for the growth and metabolic activities of microorganisms at low concentration. In contrast the hexavalent chromium, Cr(VI) is remarkably hazardous because its properties of carcinogenic and water soluble in the full pH range. Recently, various techniques have been applied for removal of Cr(VI) contaminant but often do not effectively. Biodegradation and biosorption are emerging as potential alternative methods for chromium removal because of the low cost and minimal chemical used. Several microorganisms isolated from wastewaters and soils have been documented to remove chromium from the culture medium. However, the performance of these bacteria suffers when pH, temperature, and/or salinity fluctuate. This study firstly aims to explore novel bacteria with potential to remove chromium contamination from synthetic wastewater. A protease-producing bacterium, Bacillus subtilis isolated from marine sediment in the Gulf of Thailand showed 69.5% reduction of 50 mg/L Cr(VI) to Cr(III) in LB medium (pH 7.0) after 24 hours cultivation at 30 °C. NaCl at 1% (w/v) concentration did not effect reduction efficiency of the bacterium. The second aim of the study is to investigate the decontamination of Cr(VI) from synthetic wastewater using food scraps, coffee grounds and waste tea as low cost alternative adsorbent. Preliminary screening revealed the potentials of pork bones, waste tea and coffee ground for biosorption of chromium. Batch adsorption conditions were optimized. Complete adsorption of 30 mg/L Cr(VI) from the synthetic wastewater was found with 5 mg /L of waste tea or coffee ground at pH 2.0 for 180 minutes, 35-65 °C and 250 rpm . Optimal condition for biosorption of chromium using pork bones was initial pH of wastewater as 4.0, 2 mg/L chromium loading, shaking speed at 300 rpm for 60 minutes at 80°C. These findings render B.subtilis as well as pork bones, coffee ground and waste tea are potential candidates for practical use biotreating tannery effluents containing Cr(VI) in the future.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_012.pdf12.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น