กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/355
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กิจฐเชต ไกรวาส | |
dc.contributor.author | โกวิท กระจ่าง | |
dc.contributor.author | นนทวัฒน์ สุขผล | |
dc.contributor.author | จีรศักดิ์ สุขแก้ว | |
dc.contributor.author | ฉวีวรรณ ไกรวาส | |
dc.contributor.author | ประภาศรี ถนอมจิตร์ | |
dc.contributor.author | อรวรรณ บุญบำรุง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:29Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:29Z | |
dc.date.issued | 2552 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/355 | |
dc.description.abstract | การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนในท้องถิ่น จากกลุ่มประชาชนในท้องถิ่นที่มีที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกินอยู่ติดกับพื้นที่ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและตัวแทนของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี พบว่า 1. ประชาชนในท้องถิ่นที่มีมที่แอยู่อาศัยหรือแหล่งกำเนิดติดกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 5 แห่ง ของอำเภอบ่อทอง จำนวน 24 ราย ทั้งหมดเห็นด้วยกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง รวมถึงการที่จะพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวที่อยู่ติดกับแปลงที่ดินของประชาชนในกลุ่มนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2. ตัวแทนของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเทียวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากผู้ให้ของมูลสำคัญในกลุ่มนี้ ผลการศึกษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญมีดังนี้ 2.1 รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับแล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอบ่อทอง รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอบ่อทอง ควรเป็นรูปแบบการทม่องเที่ยวที่เน้นไปในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การเรียนรู้วิถีของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจัดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2.2 จุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง จุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวใเชิงนิเวศนเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง คือ สภาพความสวยงาม และ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งภูเขา ถ้ำ น้ำตก 2.3 จุดอ่อนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง จุดอ่อนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทองคือ ระยะทางในการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ค่อนข้างไกล ประกอบกับการคมนาคมขนส่งที่ยังไม่ค่อยสะดวก นอกจากนี้ยังขาดการประชาสัมพนธ์แหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญคือยังขาดงบประมาณสำหรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2.4 โอกาศของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง โอกาศของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทองมีค่อนข้างมากหากหน่วยงานีท่เกี่ยวข้องได้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็ฯที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่มีศุกยภาพสูงในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการนิยม 2.5 อุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทอง อุปสรรคในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภิอบ่อทองยังมีอยู่ในหลายส่วน นับตั้งแต่ในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยว ความสะดวกสบายและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมถึงในเรื่องระเบียบข้อบังคับของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืชที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว 2.6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งท่องเที่ยวควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องความสะอาดและสภาพภูมิทัศน์บริเวณแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพสินของนักท่องเที่ยว 2.7 ด้านการขนส่งและการสื่อสารที่ควรได้รับเพิ่มเติม ระบการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารที่ควรได้รับการพัฒนาเพ่มเติมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวคือ การปรับปรุงเส่นทางคมนาคมขนส่ง และการเตรียมยานพาหนะสำหรับการขนส่งนักท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมถึงการปรับปรุงสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความชัดเจนและสามารถใช้งานได้ในทุก ๆ พื้นที่ 2.8 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม สิ่งอำนวยความสะดวกที่ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวประกอบด้วย ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ระบบการรักษาความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ำ ร้านค้า ที่จอดกถ ถังขยะ เป็นต้น 2.9 ด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม การประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่อำเภอบ่อทองให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในกลุ่มของประชาชนในจังหวัดและนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่น | th_TH |
dc.description.sponsorship | องค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - ชลบุรี - - บ่อทอง | th_TH |
dc.subject | การอนุรักษ์ธรรมชาติ - - แง่เศรษฐกิจ - - ไทย - - ชลบุรี - - บ่อทอง | th_TH |
dc.subject | บ่อทอง (ชลบุรี) - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | The Management of eco-tourism in the area of Bor Thong district, Chon Buri province | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2552 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น