กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3555
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาวัคซีนจากแอนติเจนในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนสำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the vaccines using protease enzymes for fasciolosis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรอนันต์ เกื้อไข่ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคพยาธิใบไม้ในตับ -- การป้องกันและควบคุม วัคซีนโรคพยาธิใบไม้ตับ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | Fasciola gigantica cathepsinL, B (CatL, CatB) และ saposin-like protein 1 จัดอยู่ในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนที่มีความสำคัญ มีการแสดงออกมากในเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และปล่อยสู่สารที่พยาธิหลั่งออกมา (ES product) ชนิดของ CatL, CatB และ SAP-1 เป็นโปรตีนที่มีการแสดงออกในตัวอ่อนระยะแรก ๆ ของพยาธิสำหรับการเคลื่อนที่และย่อยอาหาร ดังนั้น โปรตีน CatL, CatB และ SAP-1 น่าจะเป็นเป้าหมายสำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ F. gigantica ในการศึกษาครั้งนี้ มีการผลิต Recombinant pro-F.gigantica CatL1 (rpFgCatL1), recombinant mature F. gigantica CatL1 (rmFgCatL1), rmFgCatL1H, rmFgCatL1G, rFgCatB2 , rFgSAP-1 ในแบคทีเรียสายพันธ์ Escherichia coli BL21 ซึ่งมีมวลโมเลกุล เท่ากับ 30, 25, 25, 25, 28, 56, 12 กิโลดาลตัน ตามลำดับ ในการทดสอบวัคซีนของโปรตีน rFgSAP-1 ใช้หนูสายพันธ์ Imprinting Control Region (ICR) กลุ่มละ 10 ตัว โดยมีการฉีดโปรตีนครั้งละ 50 ไมโครลิตร เข้าใต้ผิวหนัง หลังจากการฉีดกระตุ้นครั้งสุดท้าย 2 สัปดาห์ ได้ทำให้หนูติดเชื้อโดยป้อนตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อ (metacercariae) ตัวละ 15 metacercariae ซึ่งผลการทดสอบวัคซีนมีการแสดงระดับการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่ม rFgSAP-1 เท่ากับ ร้อยละ 73.2 และ 74.3 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม non vaccinated-infected และ adjuvant-infected controls ตามลำดับ แอนติบอดีในกลุ่มที่ฉีดกระตุ้นด้วยโปรนมีการทำปฏิกิริยากับ newly excysted juveniles (NEJ), 4-week-old juveniles and the ES products of 4 week-old juveniles และพบว่าในกลุ่มที่ฉีดกระตุ้นด้วยโปรตีนมีการตอบสนองทั้ง Th1 และ Th2 ซึ่งสอดคล้องกับระดับแอนติบอดี IgG1 และ IgG2a ที่เพิ่มขึ้น ระดับของเอนไซม์ตับ Serum Glutamic Oxaloacetic Transferase (SGOT) และ Serum Glutamic Pyruvate Transferase (SGPT) ในกลุ่ม rFgSAP-1 แสดงให้เห็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมรอยโรคที่เกิดกับตับในกลุ่มวัคซีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรตีน rFgSAP-1 มีศักยภาพในการเป็นวัคซีนป้องกันพยาธิใบไม้ตับ F. gigantica และอาจจะมีการทดสอบในสัตว์เคี้ยวเอื้องและมนุษย์ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3555 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_035.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น