กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3549
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of physical activity and eating behavior changing model for overweight school-age children and adolescents, East Coast Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินตนา วัชรสินธุ์
กิจติยา รัตนมณี
ณัชนันท์ ชีวานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับพฤติกรรม
วัยรุ่น -- น้ำหนัก
พฤติกรรมผู้บริโภค
น้ำหนักตัว -- การควบคุม
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยระยะที่ 1 นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีและระยอง จ านวน 67 คน และ 169 คน ตามลำดับ และบิดา/มารดาของเด็ก จำนวน 20 คน แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นด้วย การวิเคราะห์สถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระหว่างวัยเรียนและวัยรุ่นด้วยสถิติ T-Test และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสหสัมพันธ์ เพียร์สันผลการวิจัยพบว่า จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม พบว่า เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นยังขาด ความเข้าใจและแรงจูงใจในการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม บิดามารดาของเด็ก กลุ่มนี้เห็นความส าคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังของของบุตร และได้พยายามแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ความพร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและ กิจกรรมทางกาย และความพร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .301, .313, และ .321; p <.05, <.01 และ <.01 ตามลำดับ) ส่วนในเด็กวัยรุ่น พบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย และความพร้อมของขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (r = 241, .239, และ .292; p < .01, <.01 และ <.01 ตามล าดับ) การรับรู้ ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .202, p < .01) ส่วนความ พร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.267, p < .01) ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียนควรประเมิน ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจ และความพร้อมของขั้นตอน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย และควรพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องกับผลการประเมินนี้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_094.pdf644.78 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น