กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3542
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอลงกต สิงห์โต
dc.contributor.authorอุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล
dc.contributor.authorนริศรา เรืองศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-03T07:07:21Z
dc.date.available2019-05-03T07:07:21Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3542
dc.description.abstractจากการวิจัยในอดีต แสดงให้เห็นถึงการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการสูญเสียมวล อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส ซึ่งจากการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความจําเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจําอย่างสม่ําเสมอเพื่อควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไป จนในปัจจุบัน ยังมีองค์ความรู้อยู่อย่างจํากัด เกี่ยวกับการใช้โภชนบําบัดทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกําลังกายในการเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้โภชนบําบัดทางการแพทย์โดยนักกําหนดอาหารวิชาชีพในการเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จํานวนทั้งสิ้น 130 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโภชนบําบัดทางการแพทย์ 65 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลสุขภาพแบบเดิมโดยโรงพยาบาลจํานวน 65 คน ทําการทดลองระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยนัดหมาย อาสาสมัครกลุ่มทดลองมาพบนักกําหนดอาหารเพื่อให้โภชนบําบัดทางการแพทย์ จํานวน 6 ครั้ง ในขณะที่กลุ่มควบคุมทําการเก็บข้อมูลในสัปดาห์แรกและสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมาย ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อมวลกระดูก ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม และฟอสอรัส สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเพื่อเสร็จสิ้นสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมาย (p<0.05) รวมถึงพฤติกรรมการออกกําลังกาย พบว่า ในสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมายอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการออกกําลังกายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจาก เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่า อาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานแคลเซียม วิตามินดีแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และการออกกําลังกายในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลองมากกว่าสัปดาห์แรกที่เริ่มนัดหมายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่า การให้โภชนบําบัดทางการแพทย์มีประสิทธิผลช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนจากทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจาก รัฐบาล) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสหเวชศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.subjectโรคเอดส์th_TH
dc.subjectโภชนบำบัดth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของการใช้โภชนบำบัดทางการแพทย์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.typeResearchen
dc.author.emailalongkote@buu.ac.th
dc.author.emailuraipornbrnssk@gmail.com
dc.author.emailnarisar@buu.ac.th
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativePrevious studies have established the risk of bone loss among people living with HIV affected by antiretroviral therapy drug side effects and inadequate nutrients intake. Until recently, there have been limits on using the medical nutrition therapy to improve dietary habits for improve bone health among people living with HIV. This was a randomized control trial study aimed to investigate the effectiveness of medical nutrition therapy in improving the bone health in people living with HIV by promoting dietary habits. PLHIV at the Queen Savang Vadhana memorial hospital were randomly identified (by quota sampling) to MNT group (intervention group) and control group. One hundred and thirty PLHIV were recruited to participate in this study by convenient sampling. Sixty five participants of MNT group made a totally 6 appointments (12 weeks) to meet registered dietitians for receiving medical nutrition therapy to improve dietary habits for improving bone health. While 65 participants in control group received only routine care at hospital service center. In general, participants in MNT group had significant higher amount of nutrient intakes (calcium, vitamin D, potassium, and phosphorus) and length of exercise than control group after finishing the final week. Also, participants in MNT group had significant increase in amount of calcium, vitamin D, potassium, and phosphorus intakes and length of exercise after final week compared with before intervention. In conclusion, medical nutrition therapy is effectiveness for improving food habits and physical activity to promote bone health among people living with HIVen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_096.pdf484.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น