กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3538
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิภาพของการร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The performance of Sakaeo Province dairy milk product’s supply chain collaboration on competitive advantage for entering the Sakaeo Special Economic Zone |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปรียาวดี ผลเอนก ธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผลิตภัณฑ์นม -- อุปทานและอุปสงค์ อุตสาหกรรมนมเนย -- ไทย -- สระแก้ว อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม เขตเศรษฐกิจ -- ไทย -- สระแก้ว สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อิทธิพลของการร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทานที่มีต่อประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว (2) ระดับประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว และ (3) อิทธิพลของประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้วที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหาในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำนวน 36 คน เก็บข้อมูลด้วยการใช้วิธีทอดแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสกัดปัจจัยแบบ Principal Component Analysis การวิเคราะห์ Multiple Linear Regression การวิเคราะห์ Multinomial Logistics Regression และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การร่วมแรงร่วมใจในโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ความได้เปรียบในการจัดซื้อจัดหา ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า-ผู้จัดหาปัจจัยการผลิต การแบ่งปันข้อมูลภายในสมาชิกโซ่อุปทาน ความเชื่อมโยงภายในโซ่อุปทาน และความไว้วางใจในสมาชิกโซ่อุปทาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (2) ประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพสูง และ (3) ประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่ม จังหวัดสระแก้ว ด้านความน่าเชื่อถือของโซ่อุปทานมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อรองรับ การเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ด้านนวัตกรรมการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ด้วยโอกาส ที่จะเกิดเหตุการณ์นี้มีค่าเท่ากับ 5.683 เท่า และประสิทธิภาพของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนม พร้อมดื่มจังหวะสระแก้วด้านค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อ รองรับการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ด้านส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 ด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้มีค่าเท่ากับ 5.819 เท่า |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3538 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย(Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_100.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น