กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3528
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์และฤทธิ์ต้านการอักเสบของอนุพันธ์ฟลูออโรไตรเอริลมีเทน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Synthesis and anti-inflammatory evaluation of fluorinated triarylmethane derivatives
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จเร จรัสจรูญพงศ์
กล่าวขวัญ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สารต้านการอักเสบ
ฟลูออโรไตรเอริลมีเทน -- สารอนุพันธ์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์สารประกอบไตรเอริลมีเทนที่มีฟลูออรีนอยู่ในโมเลกุล ได้แก่ สาร JJAF1-7 JJBF1-12 และ JJBF15 ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ 1) ปฏิกิริยาของสารตั้งต้น สามองค์ประกอบแบบขั้นตอนเดียว ได้แก่ 1,2,4-trimethoxybenzene หรือ 2-methylfuran หรือ benzaldehyde หรือ 4-fluorobenzaldehyde และ tert-butylcarbamate จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ สาร tert-butyl diarylmethyl carbamate ทำปฏิกิริยาแทนที่โดยใช้ indole หรือ 6-fluoroindole เป็นนิวคลีโอไฟล์ ได้สาร JJAF1-3 2) ปฏิกิริยาของสารตั้งต้นสามองค์ประกอบแบบขั้นตอนเดียว โดยใช้ indole หรือ 6-fluoroindole และ benzaldehyde หรือ 4-fluorobenzaldehyde และ N,Ndimethylaniline เป็นสารตั้งต้นภายใต้สภาวะที่มี Bi(OTf)3 10 โมล% เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สาร JJAF4-6 3) ปฏิกิริยาระหว่าง 6-fluoroindole กับ methyl orthoformate ภายใต้สภาวะที่มี Bi(OTf)3 10 โมล% เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สาร JJAF7 และ 4) ปฏิกิริยา Friedel-Crafts ของ 1,3,5-, 1,2,4- และ 1,2,3-trimethoxybenzene กับ benzaldehyde ชนิดต่างๆ ที่มีฟลูออรีนแทนที่บนวงเบนซีน ภายใต้สภาวะที่มีไอโอดีนหรือ Bi(OTf)3 10 โมล% เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สาร JJBF1-12 และ JJBF15. สารประกอบไตรเอริลมีเทนที่มีฟลูออรีนในโครงสร้างที่สังเคราะห์ได้ทั้ง 20 ชนิด ได้นำไปศึกษาความสามารถในการต้านอักเสบของเซลล์แมคโครฟาจภายใต้ภาวะกระตุ้นด้วยไลโพโพลิแซคคาไรด์ (LPS) จากการศึกษาพบว่าสารประกอบไตรเอริลมีเทนที่มีฟลูออรีนในโครงสร้างไม่แสดง ความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ ยกเว้น สาร JJAF1-7 และ JJBF3 นอกจากนี้ในงานวิจัยพบว่าสารสังเคราะห์ 5 ชนิด ได้แก่ JJBF9, JJBF10, JJBF11, JJBF12 และ JJBF15 แสดงความสามารถในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ ได้ดีกว่าอะมิโนกวานิดีนซึ่งใช้เป็นยาต้านอักเสบในปัจจุบัน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 18.8 ± 0.9, 14.2 ± 0.7, 6.98±0.47, 9.65±0.73 และ 10.6 ± 0.9 ไมโครโมล ตามลำดับ จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสารไตรเอริลมีเทนที่มีฟลูออรีนในโครงสร้าง 5 ชนิด ได้แก่ JJBF9, JJBF10, JJBF11, JJBF12 และ JJBF15 น่าจะมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นสารต้านการอักเสบชนิดใหม่ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_073.pdf1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น