กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3526
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ | |
dc.contributor.author | วรรณภา ลือกิตินันท์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2019-04-21T07:17:45Z | |
dc.date.available | 2019-04-21T07:17:45Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3526 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาส ปัญหา และข้อควรคำนึงถึงในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติใน สปป.ลาว เพื่อศึกษาวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสปป.ลาว ตามหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมชาติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติใน สปป.ลาว โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้วิจัยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหาร ผู้จัดการแผนกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พนักงานแผนกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานชาวไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาด้านการบริหารแก่บริษัทลงทุน ข้ามชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะ-หวัน เซโน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 5 คน จาก 3 บริษัท พบว่า โอกาสมาจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจสะหวันเซโน ในเรื่องของภาษี การลดค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค ปัญหาที่พบประกอบด้วย ปัญหาด้านกำลังคน ปัญหาการลาออก ปัญหาเวลาการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านการติดต่อหน่วยงานราชการ และด้านกฎหมาย ข้อควรคำนึงถึง คือนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ชาวไทยควรปรับตัวในการทำงาน ทำความรู้จักหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการในพื้นที่ ต้องศึกษาภาษาประจำชาติ และวัฒนธรรม และควรมีชาวลาวเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์ บริษัททั้ง 3 แห่ง นำแนวทางการบริหารจากประเทศไทยมาใช้ โดยอาจไม่ไม่ได้นำมาทั้งหมด หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การตัดสินใจในการบริหารทั่วไปอำนาจจะอยู่ที่ สปป. ลาว การสรรหาและคัดเลือก ใช้ระบบจากประเทศไทย แต่มีการปรับให้เข้ากับลักษณะของพื้นที่ การฝึกอบรม มีการจัดการฝึกอบรมโดยใช้แนวทางของประเทศไทย แต่ปัญหาที่พบคือ ขาดวิทยากร ค่าตอบแทนแต่ละกิจการจะยึดตามกฎหมายแรงงานของสปป. ลาว โดยค่าตอบแทน ต่าง ๆ จะให้คล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยจะต้องมีการปรับวันหยุด วันลา ตามวัฒนธรรม และกฎหมายของ สปป.ลาว ต้องปรับสวัสดิการตามลักษณะของพื้นที่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้แนวทางเดียวกับประเทศไทย โดยต้องชี้แจงให้พนักงานเข้าใจ การพนักงานสัมพันธ์ ยังไม่ได้มีการนำ มาใช้มากนัก การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมชาติ โดยพนักงานชาวลาวให้ความสำคัญกับความสบายใจในการทำงานเป็นหลัก และการสื่อสาร เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จะต้องให้เกียรติพนักงาน | th_TH |
dc.description.sponsorship | รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ | th_TH |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ | th_TH |
dc.subject | การลงทุนของต่างประเทศ | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน | th_TH |
dc.title.alternative | Human Resource Management of Multinational Enterprises in Laos PDR: A Case Study of Savan-Seno Special Economic Zone | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | Kanvalai_non@hotmail.com | |
dc.author.email | Wannapa.w236@yahoo.com | |
dc.year | 2560 | |
dc.description.abstractalternative | Human Resource Management of Multinational Enterprises in Laos PDR: A Case Study of Savan-Seno Special Economic Zone” is a qualitative study aimed to study about opportunities, issues and recommendations of human resource management, to study human resource management functions and to study about national culture and organizational culture influence on human resource management of multinational enterprise in Laos PDR. The indepth interview with purposefully sampling is used for collecting data. The key informants are 5 Thai executive managers, human resource managers and human resource officers who work in 3 multinational enterprises in Savan-Seno Special Economic Zone, Laos PDR. The findings were that the opportunities for investing in Savan-Seno Special Economic Zone are advantage in taxes and duties, lower labor cost, and lower infrastructure cost. The issues are manpower, resignation, operation time, government contact, and law. The recommendations are Thai human resource officers should adapt for working with foreigners, make connection with government and other multinational enterprises. They should learn national language and culture and should have Laos people as the human resource officers. The 3 multinational enterprises use human resource management policies from Thailand, but not totally, they adapted the policies follow the environment. The decision makings are done at the enterprises in Laos PDR. The enterprises adapt the recruitment and selection system with Laos peoples. They followed Thai training system, lacking of trainers is one of the problems. Each enterprise followed Laos labor law for compensation system. They set their welfare familiar to Thailand by adapting to Laos culture and regulations. Performance Appraisal is used by informing the employees. The human resource management had to follow the national culture. Laos employees preferred to work with good feeling, proceed gradually communication and respectfully are preferred | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_071.pdf | 444.21 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น