กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3520
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอเซลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Biodiesel production from agricultural wastes by using biotechnological process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาลินี ศรีวงษ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล -- การผลิต
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล -- เทคโนโลยีชีวภาพ
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: ก้อนเชื้อเห็ดเก่าเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากอุตสาหกรรมการผลิตเห็ดซึ่งเป็นวัสดุลิกโน เซลลูโลสที่ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนิน วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) และก้อนเชื้อเห็ดเก่าเห็ดนางนวล (Pleurotus djamor) โดยการปรับสภาพด้วยความร้อนชื้นภายในหม้อนึ่งความดันไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ความดันบรรยากาศ เวลา 15 นาที สารละลายกรด ซัลฟูริกเข้มข้นร้อยละ 1 สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้นร้อยละ 1 ความร้อนชื้นร่วมกับสารละลายกรดซัลฟูริกและความร้อนชื้นร่วมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของก้อนเชื้อเห็ดเก่า พบว่าการใช้ความร้อนชื้นที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ความดันบรรยากาศ เวลา 15 นาทีร่วมกับสารละลายกรดซัลฟูริกเข้มข้นร้อยละ 1 ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 1,255 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 591 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนินลดลงหลังจากการปรับสภาพ การผลิตลิพิดของยีสต์ไขมันสูง R. mucilaginosa ที่คัดแยกได้จากดินตะกอนป่าชายเลนบนอาหารเลี้ยงเชื้อสูตรดัดแปลง lipid accumulation medium (LAM) ที่มีน้ำตาลรีดิวซ์เป็นแหล่งคาร์บอน ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 5.0 และบ่มเพาะเลี้ยงแบบเขย่าที่ 150 รอบต่อนาทีอุณหภูมิห้อง ระยะเวลา 120 ชั่วโมง พบว่ายีสต์ไขมันสูงสามารถเจริญและผลิตลิพิดได้เท่ากับ 1.08+0.07 และ 0.53+0.02 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ และ 0.21+0.05 และ0.10+0.07 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ องค์ประกอบของลิพิดที่สกัดได้มีกรดไขมันชนิดสายยาวเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ กรดปาล์มิติก กรดสเตียริกและกรด โอเลอิกเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันพืช ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับ การพัฒนาการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ของก้อนเชื้อเห็ดเก่าร่วมกันระหว่างการปรับสภาพด้วยวิธีทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_068.pdf665.56 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น