กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3517
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล | |
dc.contributor.author | สันทัด วิเชียรโชติ | |
dc.contributor.author | อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-04-19T05:55:51Z | |
dc.date.available | 2019-04-19T05:55:51Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3517 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสกัดเส้นใยอาหารผงจากกากมะตูมและกากขิง และการนำไปใช้เป็น ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับกรณีของกากมะตูม จากการศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาในการสกัดด้วยน้ำ ได้แก่ สกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 และ 120 นาทีสกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 และ 120 นาทีและไม่ผ่านการสกัดด้วยน่ำ พบว่า สภาวะการสกัดด้วยน้ำมีผลต่อปริมาณเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ปริมาณเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ค่าสี และปริมาณผลได้ (p<0.05) โดยวิธีการสกัดด้วยน้ำที่เหมาะสมที่สุดที่ได้ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดมากที่สุด คือ การสกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที จากการศึกษาผลของการสกัดด้วยเอทานอลต่อคุณภาพของเส้นใยอาหารผงจากกากมะตูม พบว่า การสกัดกากมะตูมด้วยน้ำและเอทานอลร่วมกัน ทำให้ได้เส้นใยอาหารผงจากกากมะตูมที่มีปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด ปริมาณเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำมากกว่าการสกัดด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว รวมถึงมีผลให้สมบัติเชิงหน้าที่ด้านความสามารถ ในการละลาย และความสามารถในการอุ้มน้ำของเส้นใยอาหารผงมากขึ้นด้วย และจากการเติมเส้นใยอาหารผงจากกากมะตูมที่ผลิตได้ในปริมาณ 0-1.5% ในไอศกรีมไขมันต่ำ พบว่า การเติมเส้นใยอาหารผงจากกากมะตูม 1% ในไอศกรีมไขมันต่ำ เป็นปริมาณการเติมที่เหมาะสมที่สุด โดยได้รับคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง สำหรับกรณีของกากขิง จากการศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาในการสกัดกากขิงด้วยน้ำ ได้แก่ สกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 และ 60 นาที สกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 และ 60 นาที และไม่ผ่าน การสกัดด้วยน้ำ พบว่า สภาวะการสกัดมีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ทั้งหมด สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด ค่าสี และปริมาณผลได้ (p<0.05) โดยวิธีการสกัดด้วยน้ำที่เหมาะสมที่สุดที่ได้ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดมากที่สุด คือ การสกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที จากการศึกษาผลของการ นำกากขิงมาสกัดต่อด้วยเอทานอลเป็นเวลา 0 6 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่า การสกัดต่อด้วยเอทานอลทุกสภาวะ มีผลให้มีปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดสูงขึ้น แต่มีผลให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระลดลง (p<0.05) โดยพบว่าการสกัดด้วยเอทานอลมีผลให้เกิดรสขมตกค้าง ผลการวิเคราะห์สมบัติเชิงหน้าที่ พบว่า เส้นใยอาหารผงที่ผ่านการสกัดด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที มีความสามารถในการอุ้มน้ำ ความสามารถในการอุ้มน้ำมัน และความสามารถในการพองตัว มากกว่าเส้นใยอาหารผงจากกากขิงไม่ผ่านการสกัด จากการเติมเส้นใยอาหารผงจากกากขิงที่ผลิตได้แทนที่เนยปริมาณ 0-15% ในคุกกี้ชูการ์สแนป พบว่า การเติมเส้นใยอาหารผงแทนที่เนย 5% ในคุกกี้ชูการ์สแนป เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุด โดยได้รับคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กากมะตูม -- การใช้ประโยชน์ | th_TH |
dc.subject | ขิง (พืช) -- การใช้ประโยชน์ | th_TH |
dc.subject | อาหารเพื่อสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ใยอาหาร -- แง่โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การเพิ่มมูลค่ากากสมุนไพรไทยบางชนิดที่เป็นส่วนเหลือทิ้งจากกระบวนการสกัดโดยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Value Added of Some Thai Herbs Residue form Wastes Extraction Process as Functional Food Ingredients | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | wich@buu.ac.th | |
dc.author.email | santad.w@psu.ac.th | |
dc.author.email | aapuls@ku.ac.th | |
dc.year | 2560 | |
dc.description.abstractalternative | This research was to study the extraction method of dietary fiber powder from bael and ginger residue and application as functional food ingredients. For bael residue, the effects of temperature and time of water extraction were varied as: temperature at 70°C for 60 and 120 min, temperature at 90°C for 60 and 120 min and without water extraction. It was found that the condition of water extraction significantly effected on the content of insoluble fiber, soluble fiber, total dietary fiber, total sugar, colors and yield of bael residue dietary fiber powder (p<0.05). The most appropriate water extraction condition which contained highest content of total dietary fiber was at temperature of 90°C for 60 min. Then the effect of ethanol extraction on the quality of dietary fiber powder from bael residue was studied. It was found dietary fiber powder from water extraction combined with ethanol extraction contained higher content of total dietary fiber and insoluble dietary fiber than dietary fiber powder from water extraction alone. Moreover, functional properties in terms of solubility, and water holding capacity of dietary fiber powder were also increased. The effect of 0-1.5% dietary fiber powder from bael residue addition to low fat ice cream was evaluated. The most appropriate formulation was addition of dietary fiber powder from bael residue at 1% in low fat ice cream which received the overall liking score at slightly like to moderately like level. For ginger residue, the effects of water extraction condition was studies as following: at room temperature for 30 and 60 min, at 90ºC for 30 and 60 minutes and without water extraction. It was found that the condition of water extraction significantly effected on total phenolic compound content, antioxidant activity, insoluble dietary fiber content, total dietary fiber content, colors value and yield (p<0.05). The most appropriate water extraction condition which contained highest content of total dietary fiber was at temperature of 90ºC for 60 minutes. Then the further ethanol extraction was studied varying extraction time as 0 6 12 and 24 hours. It was found that dietary fiber powder from water extraction combined with ethanol extraction contained higher content of total dietary fiber but total phenolic compound content and antioxidant activity were decreased (p <0.05). There was a bitter residue in dietary fiber powder produced from all conditions of ethanol extraction. As a result, functional properties of dietary fiber powder produced from water extraction at 90ºC for 60 minutes had better performance in terms of water holding capacity, oil binding capacity and swelling capacity than dietary fiber powder produced without water extraction. The addition of dietary fiber powder from ginger residue replaced butter for 0-15% in sugar snaps cookies products were evaluated. The most appropriate formulation was replaced butter with dietary fiber powder at 5% in sugar-snap cookies which received the overall liking score at slightly like to moderately like level | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_064.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น