กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3503
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับผลเงาะครบทุกส่วนโดยการนําส่วนเนื้อ เปลือกและเมล็ดเงาะมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Economic Value Added of Rambutan by Using Each Part to Produce Valuable Products |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์ สิริมา ชินสาร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เงาะ -- การแปรรูป การแปรรูปผลิตผลเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | แผนงานวิจัยนี้มีโครงการวิจัยภายใต้แผน จํานวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 การพัฒนา ผลิตภัณฑ์เงาะกึ่งแห้งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพมูลค่าสูงโดยใช้การดึงน้ำออกวิธีออสโมซิสร่วมกับ การทําแห้ง โครงการวิจัยที่ 2 การผลิตสารเอกโซโพลีแซกคาไรด์จากน้ำตาลที่เหลือจากกระบวนการ ออสโมซิส โครงการวิจัยที่ 3 การใช้ประโยชน์จากเปลือกเงาะเป็นใยอาหารในอาหารเพื่อสุขภาพ และโครงการวิจัยที่ 4 สมบัติทางเคมี-กายภาพ และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมัน รวมทั้งสมบัติของแป้งหลังการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเงาะที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม โครงการที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เงาะกึ่งแห้งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพมูลค่าสูงโดยใช้การดึงน้ำ ออก วิธีออสโมซิสร่วมกับการทําแห้ง งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เงาะกึ่งแห้งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพโดยใช้วิธีออสโมซิส ร่วมกับการทําแห้ง จากการศึกษาผลของการใช้สารละลายออสโมติกในรูปแบบสารละลายผสมระหว่างน้ำตาลซูโครส (0-50%) กับน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตส (0-50%) มีผลทําให้ค่าการถ่ายเทมวลสาร ได้แก่ ค่า WL SG และ WR รวมถึงคุณภาพของเงาะหลังการออสโมซิสด้านปริมาณความชื้น ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ค่าสี และคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านรสชาติและความชอบโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) การใช้สารละลายผสมมีผลให้ ค่า WL SG และ WR เพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้สารละลายน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตสเพียงอย่างเดียว เท่ากับ 0.81-1.56% 0.68-1.93% และ 0.55-0.92% ตามลําดับ จากการศึกษาผลของความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทและกรดแอสคอรบิกร่วมกับการใช้สภาวะสุญญากาศในการออสโมซิส พบว่าอิทธิพลร่วมของทั้ง 3 ปัจจัย มีผลต่อค่าการถ่ายเทมวลสารปริมาณวิตามินซี ค่าความแน่นเนื้อ ความชอบด้านรสชาติ และความชอบโดยรวม (p<0.05) และพบว่าไม่มีอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความชอบด้านลักษณะปรากฏและความชอบด้านสี (p≥0.05) สิ่งทดลองที่ใช้แคลเซียมแลคเตท 2% และกรดแอสคอรบิก 1% ร่วมกับการใช้สภาวะสุญญากาศ 100 mbar เป็นเวลา 10 นาที ทําให้เงาะหลังการออสโมซิสมีปริมาณแคลเซียมและปริมาณวิตามินซีสูงและได้รับคะแนน ความชอบโดยรวมสูงที่สุด (p<0.05) การหมุนกวนสารละลายออสโมติกทําให้มีค่าการถ่ายเทมวลสารปริมาณแคลเซียม และวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น (p<0.05) โดยพบว่าการใช้ความเร็วการหมุนของลูกรีด 200 รอบ/นาที ทําให้เงาะหลังการออสโมซิสมีปริมาณแคลเซียมและวิตามินซีเพิ่มขึ้นมากที่สุด การออสโมซิสเงาะช่วยลดเวลาในการทําแห้งโดยใช้ตู้อบสุญญากาศลงได้ 62 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับเงาะที่ไม่ผ่านการออสโมซิส โดยพบว่าเงาะกึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมด (69.33 g/100g โดยน้ำหนักแห้ง) ปริมาณแคลเซียม (31.15 mg/100g โดยน้ำหนักแห้ง) และปริมาณวิตามินซี (1582.74 mg/100g โดยน้ำหนักแห้ง) มากกว่าเงาะกึ่งแห้งที่ไม่ผ่านการออสโมซิส รวมถึงได้รับคะแนนความชอบโดยรวม มากกว่า อยู่ในระดับชอบปานกลาง (p<0.05) มีความปลอดภัยสําหรับการบริโภคที่อุณหภูมิห้อง เมื่อเก็บรักษาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ โดยเงาะกึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสได้รับความชอบโดยรวมมากกว่า 6 คะแนนขึ้นไป ตลอดเวลาการเก็บรักษา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3503 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_049.pdf | 465.26 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น