กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3494
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองด้านการเติบโต สรีรวิทยาและชีวเคมีต่อการชักนำของไคโทซานในต้นกล้าข้าวภายใต้ภาวะปกติและภาวะเครียดจากความแล้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Growth, physiological and biochemical responses to chitosan in rice (Oryza sativa L.) seedlings under normal and drought stress
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสินี พงษ์ประยูร
อติกร ปัญญา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สรีรวิทยา
ข้าว
ไคโตแซน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาหาระดับความเข้มข้นของไคโทซาน ที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ การกำจัดหมู่อะซิทิลเท่ากับ 80 (O80) ในการชักนำการเติบโตของข้าวและเพื่อศึกษาการตอบสนองทางด้านสรีรวิทยาและชีวเคมีของข้าวเมื่อได้รับไคโทซานในภาวะปกติและภาวะแล้ง โดยเพาะเลี้ยงต้นกล้าข้าวในสารละลายธาตุอาหารสูตรดัดแปลง WP No.2 ในภาวะปกติ (ก่อนภาวะแล้ง) และให้ความแล้งด้วยสารโพลีเอทธีลีนไกลคอล 4000 (PEG4000) ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสูตรดัดแปลง WP แช่เมล็ดข้าว10 พันธุ์ ได้แก่ กข31 กข41 กข43 กข45 กข49 ขาวดอกมะลิ 105 เหลืองประทิว 123 ปทุมธานี 1 ไรซ์เบอร์รี่และสุพรรณบุรี 1 และฉีดพ่นที่ใบด้วยไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 0, 10, 20, 40 พีพีเอ็มหรือ กรดอะซิติก จำนวน 2 ครั้ง เก็บผลการทดลองหลังจากที่ข้าวได้รับไคโทซาน O80 ในภาวะปกติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (WP7 และ WP14) ภาวะแล้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (D7) จากการวิเคราะห์ ทางสถิติพบว่ามีอิทธิพลร่วมกันของพันธุ์ข้าวและทรีทเม้นส์ของค่าน้ำหนักสดต้น (shoot fresh weight; SFW) น้ำหนักสดราก (root fresh weight; RFW) น้ำหนักแห้งต้น (shoot dry weight; SDW) และน้ำหนักแห้งราก (root dry weight; RDW) ในภาวะปกติที่ 14 วัน ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เมื่อได้รับไคโทซาน O80 ความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม มีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW สูงที่สุดเท่ากับ 2.4, 2.3, 3.0 และ 3.8 เท่า ตามลำดับ รองลงมาคือข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW เป็น 2.2, 1.3, 2.2 และ 2.2 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้ข้าวพันธุ์ กข41 เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม ชักนำการเพิ่มขึ้นของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บีมากที่สุดเป็น 1.3 และ 1.2 เท่า ตามลำดับ ส่วนภายใต้ภาวะแล้งที่ 7 วัน ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับไคโทซานที่ความเข้มข้น 10 หรือ 40 พีพีเอ็ม โดยเฉพาะการให้ไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม สามารถชักนำการเพิ่มขึ้นของ SFW, RFW, SDW, RDW คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บีที่ 1.4, 1.6, 1.5, 2.3, 2.0 และ 1.7 ตามลำดับ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีปริมาณ H2O2 เพิ่มมากขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะแล้ง โดยในภาวะปกติ มีปริมาณ H2O2 สูงที่สุดที่ 10 µmol/gFW หรือ 2.5 เท่า เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม และในภาวะแล้ง มีปริมาณ H2O2 สูงที่สุดที่ 9 µmol/gFW หรือ 1.8 เท่า เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม ข้าวพันธุ์ กข49 มีการตอบสนองต่อไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม ทั้งในภาวะปกติและภาวะแล้งโดยเฉพาะในภาวะแล้ง พบปริมาณกรดแอสคอร์บิกมากที่สุด ที่ 40 µmol/gFW หรือ 1.8 เท่า จากผลการทดลอง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองต่อระดับความเข้มข้นไคโทซานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีการตอบสนองด้านการเติบโตและปริมาณรงควัตถุเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 40 พีพีเอ็มในภาวะปกติและไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็มในภาวะแล้ง ส่วนข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีการตอบสนองต่อไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม โดยมีปริมาณ H2O2 และกรดแอสคอร์บิกเพิ่มมากขึ้นในภาวะปกติและภาวะแล้ง ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3494
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น