กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3492
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-04-07T06:57:55Z
dc.date.available2019-04-07T06:57:55Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3492
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี ในปีที่ 2 นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ทําการคัดแยกและศึกษาถึงความสามารถของแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิว ชีวภาพเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนด้วยสารปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่าจาก แบคทีเรียทั้งหมด 30 ไอโซเลท ที่มีคุณสมบัติในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและสารอิมัลซิ- ไฟเออร์ โดยมีแบคทีเรียที่มีศักยภาพมากที่สุดในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและสารอิมัลซิไฟเออร์ คือ Bacillus subtilis สายพันธุ์ SE1 และรองลงมา คือ B. subtilis สายพันธุ์ SD4 ซึ่งไม่เป็น เชื้อก่อโรคในมนุษย์ สัตว์และพืชและผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจําพวกไลโปเปปไทด์ ต่อมาพบว่า แบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความสามารถในการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ทั้งภายใต้สภาวะที่มี ออกซิเจนและสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยสามารถเจริญและย่อยสลายน้ํามันทั้ง 4 ชนิดได้ในสภาวะที่ มีออกซิเจนดีกว่าสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จากภาพรวมพบว่า B. subtilisสายพันธุ์ SE1 มีประสิทธิภาพ ในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ํามันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วและน้ำมันดิบมากกว่า B. subtilis สายพันธุ์ SD4 ต่อมา ขั้นตอนที่ 2 ทําการศึกษาถึงความสามารถของแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันดิบ และน้ํามันเครื่องที่ใช้แล้วที่ปนเปื้อนในดิน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า B. subtilis สายพันธุ์ SE1 สามารถช่วยเพิ่มการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ณ ความเข้มข้น 0.5%, 1.0% และ 1.5% รวมทั้งสามารถย่อยสลายสารตัวกลางได้ดีกว่าการ ย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ด้วยจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้นแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 จึงเป็น แบคทีเรีย Bioaugmentator เพื่อช่วยฟื้นฟูดินที่มีการปนเปื้อนด้วยน้ํามันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันดิบ และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วต่อไป และขั้นตอนสุดท้ายทําการศึกษาถึงการเพิ่มความสามารถ ในการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ที่ปนเปื้อนในดินด้วยการเติมสารอาหาร (สารอาหารกลุ่มไนโตรเจน, Yeast extract 1.0%; คาร์บอนที่ย่อยสลายง่าย, น้ำตาลกลูโคส 1.0% และฟอสฟอรัส, KH2PO4 0.5%) และ 0.1% H2O2 เพื่อส่งเสริมการย่อยสลายน้ำมัน 1% ทั้ง 4 ชนิด ที่ปนเปื้อนในดิน โดยเติม แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่มีการเติมสารอาหารกลุ่มไนโตรเจน (Yeast extract 1%), คาร์บอนที่ย่อยสลายง่าย (น้ำตาลกลูโคส 1%), ฟอสฟอรัส (KH2PO4 0.5%) และ 0.1% H2O2 สามารถเพิ่มการย่อยสลายน้ํามันความเข้มข้น 1% 4 ชนิดได้ดีที่สุด และพบว่า ส่งเสริมการย่อยสลายน้ำมันเบนซินดีที่สุด และน้ำมันดีเซล, น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบของแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ร่วมกับจุลินทรีย์ในดิน ตามลําดับ ดังนั้นการประยุกต์ใช้แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ร่วมกับสารอาหารกลุ่มไนโตรเจน (Yeast extract 1%), คาร์บอนที่ย่อยสลายง่าย (น้ำตาลกลูโคส 1%), ฟอสฟอรัส (KH2PO4 0.5%) และ 0.1% H2O2 น่าจะเป็นกระบวนการที่ดีในการฟื้นฟูสภาพดินหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนด้วยน้ํามันดีเซล, เบนซิน, น้ํามันเครื่องที่ใช้แล้วและน้ำมันดิบth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothen
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectแบคทีเรียth_TH
dc.subjectสารลดแรงตึงผิวชีวภาพth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมปิโตรเลียมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมีth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum industry and bioremediation of petroleum materialsen
dc.typeResearchen
dc.author.emailsubunti@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailverapong@buu.ac.thth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeResearch entitled “Development of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum industry and bioremediation of petroleum materials” in the second year was studied. The experiment was divided into 3 parts. The first phase, isolation and study on the ability of biosurfactant producing bacteria for bioremediation of petroleum contaminated environments were investigated. Results showed that among 30 isolates of biosurfactant and bioemulsifying producing bacteria, the strongest producers was Bacillus subtilis strain SE1 and the second place producer was B. subtilis strain SD4. Both of them are not human, animal and plant pathogenic bacteria. They produce lipopeptide biosurfactant. These bacteria demonstrated the capability of gasoline, diesel, used lubricated oil and crude oil biodegradation under aerobic and anaerobic condition. They better grew and biodegraded four tested oils under aerobic condition than under anaerobic condition. Totally, B. subtilis strain SE1 showed the higher efficiency for four tested oils than B. subtilis strain SD4. Then the ability for biodegradation of 4 tested oils contaminated soils by B. subtilis strain SE1 was studied. Results concluded that B. subtilis strain SE1 enhanced the efficiency for 0.5%, 1.0% and 1.5% of 4 tested-oil biodegradation. This bacterium and soil microorganisms can better biodegrade oil metabolites than the natural soil microorganisms only. Therefore, B. subtilis strain SE1 can act as bioaugmentator for bioremediation contaminated soils with gasoline, diesel, used lubricated oil and crude oil. Finally, the nutritional supplementation (nitrogen source, yeast extract 1%; readily carbon source, glucose 1%, phosphorus source, KH2PO4 0.5%) and 0.1% H2O2 for enhancing biodegradation of the gasoline, diesel, used lubricated oil and crude oil contaminated in soil by B. subtilis strain SE1 were assayed. Results demonstrated that addition of nitrogen source, yeast extract 1%; readily carbon source, glucose 1%, phosphorus source, KH2PO4 0.5%) and 0.1% H2O2 showed the best performance for 1% of 4 tested oils biodegradation which enhanced the biodegradation of 1% gasoline the most, followed by diesel, used lubricated oil and crude oil by B. subtilis strain SE1 and soil microorganisms, respectively. Therefore, the application of B. subtilis strain SE1 combined with nitrogen source, yeast extract 1%; readily carbon source, glucose 1%, phosphorus source, KH2PO4 0.5%) and 0.1% H2O2 should be the promising process for bioremediation of soil and the other environments contaminated with gasoline, diesel, used lubricated oil and crude oilen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_036.pdf28.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น