กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3477
ชื่อเรื่อง: | ผลของอุณหภูมิและความหนาแน่นของการลําเลียงลูกกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ลูกกุ้งกุลาดํา (Penaeus monodon) และกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ระยะโพสลาวา ต่อการรอดตาย ความแข็งแรงและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำที่ใช้ลําเลียงบางประการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of temperature and density for transportation the post larva of Litopenaeus vanname,Penaeus monodon and Macrobrochium rosenbergiion survival rate and changeable some properties of transported medium |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญรัตน์ ประทุมรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กุ้งขาว -- การเลี้ยง -- วิจัย กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง -- วิจัย กุ้งก้ามกราม -- การเลี้ยง -- วิจัย คุณภาพน้ำ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การลำเลียงลูกกุ้งระยะโพสลาวา 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ในถุงพลาสติกที่ความหนาแน่น 4 ระดับ (750, 1,000, 1,500 และ 2,000 ตัว/ลิตร) ร่วมกับการใช้อุณหภูมิ 2 ระดับ ได้แก่ 29.2±0.3 °C และ 22.5 ±0.2 °C โดยแบ่งการทดลองเป็น 8 การทดลองต่อชนิดลูกกุ้งตามแผนการทดลองแบบ Factorial design ทำการทดลองละ 3 ซ้ำ ใช้ลูกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำระยะโพสลาวา 15 ลูกกุ้งก้ามกรามระยะคว่ำ 1-2 วัน (อายุ 25 วัน) การลำเลียงใส่น้ำ 2 ลิตร/ถุง โดยใช้น้ำทะเลความเค็ม 15 ppt สำหรับลูกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ และใช้น้ำจืดสำหรับกุ้งก้ามกราม เติมอากาศด้วยปริมาตรของอากาศ 2 เท่าของปริมาตรน้ำในขั้นตอนต่อไปก่อนนำมาใส่กล่องโฟม กล่องโฟมที่ควบคุมอุณหภูมิ 22.5 ±0.2 °C ใช้น้ำแข็ง 500-600 กรัม/กล่อง ทดสอบการลำเลียงเป็นเวลา 10 ชั่วโมง ตรวจสอบอุณหภูมิความเค็ม ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO), pH, แอมโมเนีย (NH3 ), ไนไตรท์ (NO2 -), อัลคาไลนิตี้ (Alkalinity) และอัตรารอดลูกกุ้งเมื่อเริ่มต้นและที่สิ้นสุดของการลำเลียง จากการทดลองพบว่าทั้งอุณหภูมิและความหนาแน่นลูกกุ้งมีผลกระทบต่ออัตรารอดภายหลังการลำลียงลูกกุ้ง (p<0.05) ทั้ง 3 ชนิด กล่าวคือการลำเลียงที่อุณหภูมิ 22.5±0.2 °C มีอัตรารอดสูงกว่าที่ 29.2±0.3 °C (p<0.05) และเมื่อเพิ่มระดับความหนาแน่นในการลำเลียงเพิ่มสูงขึ้นมีผลทำให้ต่ออัตรารอดลดลง (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบที่ระดับความหนาแน่นที่สูงของการล าเลียงลูกกุ้งแต่ละชนิด พบอัตรารอดสูงกว่า (p<0.05) ที่ 22.5±0.2 °C ทั้ง 2 ปัจจัยยังมีผลต่อคุณภาพน้ำ กล่าวคือ pH และ DO มีค่าการลดลง (p<0.05) เมื่อเพิ่มระดับความหนาแน่นในการลำเลียง และมีค่าลดมากขึ้นเมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C ขณะที่เมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C พบแอมโมเนียและไนไตรท์สูงกว่า (p<0.05) โดยระดับความหนาแน่นที่สูงขึ้นส่งผลให้ทั้งความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตรท์สูงขึ้น (p<0.05) แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัล คาไลนิตี้ อุณหภูมิ และความเค็ม จากผลการทดลองชี้ชัดได้ว่าการลำเลียงลูกกุ้งทั้ง 3 ชนิด นาน 10 ชั่วโมงนั้น สามารถลำเลียงได้สูงสุดที่ระดับ 1,000 ตัวต่อลิตร เมื่อใช้อุณหภูมิน้ำ 22.5±0.2 °C และสามารถลำเลียงได้สูงสุดไม่เกิน 750 ตัวต่อลิตร เมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3 °C อย่างไรก็ตามหากลำเลียงในช่วงเวลาที่สั้นกว่า 10 ชั่วโมง สามารถลำเลียงลูกกุ้งได้หนาแน่นขึ้นได้ กล่าวคือ การลำเลียงลูกกุ้งทั้ง 3 ชนิด สามารถล าเลียงได้ถึง 2,000 ตัวต่อลิตร ที่ 22.5±0.2°C และ 1,000-1,500 ตัวต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาลำเลียง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3477 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_027.pdf | 679.65 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น