กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3469
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญดิศย์ วงศ์ศักดิ์
dc.contributor.authorสุเมธ คงเกียรติไพบูลย์
dc.contributor.authorยศนันท์ วีระพล
dc.contributor.authorสุกรรณิการ์ ทับทิมศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2019-04-03T13:33:49Z
dc.date.available2019-04-03T13:33:49Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3469
dc.description.abstractขลู่ (Pluchea indica (L.) Less วงศ์Asteraceae) ใช้เป็นยาพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในประเทศแถบร้อนและกึ่งร้อน ซึ่งในประเทศไทยใบขลู่จัดเป็นสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน และ ยังนิยมบริโภคเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่นในรูปแบบของชาสมุนไพร นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบขลู่อยู่จำนวนมาก อย่างไรก็ตามยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบขลู่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบขลู่ ในปีที่สองเป็นการศึกษาถึงพันธุกรรม ฤดูกาล และระยะการเจริญเติบโต ด้านพันธุกรรมได้พัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรมและวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของขลู่จากแหล่งต่างๆและได้ขึ้นทะเบียนที่ธนาคารพันธุกรรมโลก (GenBank) เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์สายพันธุ์ ด้านปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า ปัจจัยด้านฤดูกาลในการเก็บเกี่ยวไม่มีผลโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจัยด้านระยะการเจริญเติบโตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของสารสกัด โดยใบอ่อนของขลู่จากทุกตัวอย่างให้ผลทั้งปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดจากใบที่เจริญเติบโตเต็มที่อย่างมีนัย สำคัญ ด้านการนำสารสกัดใบขลู่มาพัฒนาเป็นลูกอมเม็ดนิ่มได้ทำการทดสอบทั้งสิ้น 12 สูตรตำรับและประเมินคุณภาพในด้านความแปรปรวนของน้ำหนัก ขนาด เนื้อสัมผัสการละลาย และความคงตัว พบว่าในตำรับที่ดีควรใส่ talcum และ HPMC ลงไปเป็นสารช่วยในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ตำรับมีความคงตัวและไม่รบกวนการปลดปล่อยสารสำคัญ โดยตำรับที่พัฒนาขึ้นมีความคงตัวดีถึงแม้จะเก็บไว้ในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส 75%RH เป็นเวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตามในโครงการต่อไปควรทำการศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 23/2559th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectขลู่ (พืช)th_TH
dc.subjectขลู่ (พืช) -- การใช้ประโยชน์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบขลู่th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting bioactive compounds and free radical scavenging activities of Pluchea indica leaf extractth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkongletter@hotmail.comth_TH
dc.author.emails_u_m_e_t@hotmail.comth_TH
dc.author.emailyotsanan@go.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsukannika@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativePluchea indica (L.) Less (Asteraceae) has been used as traditional medicine in many tropical and sub-tropical countries. The leaf powder and leaf extracts are popularly consumed as a food supplement in Thailand in herbal tea preparation. Although, the free radical activities of the plant were also extensively investigated, the factor affecting these biological activities have not been reported. Thus, the aims of this study in the second year were to explore the influence of genetic, season and maturity stage. DNA sequences and DNA fingerprints of P. indica from different areas in Thailand were evaluated. These data of ITS regions were registered and deposited in GenBank for conservation benefit. For bioactive constituent content and free radical scavenging activity, the seasonal parameter exhibited low effect, while stage of maturity demonstrated significant different between juvenile leaf extract and mature leaf extract. The juvenile leaf extract illustrated significant higher bioactive content and free radical scavenging activity than mature leaf extract for every samples. For product development, the extract was formulated to pastilles in 12 formulations. The weigh variation, thickness, texture property, dissolution, and stability study of the products were evaluated. The results indicated that talcum and HPMC should be added as excipient for enhancing product stability. The developed formulation expressed a good stability in accelerated condition at 40 degrees Celsius, and humidity 75% for six months. In further study, the product satisfaction should be investigated.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_018.pdf5.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น