กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3458
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศนิ จิระสถิตย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-04-02T04:23:10Z | |
dc.date.available | 2019-04-02T04:23:10Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3458 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรร่วมกับการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนต่อการเจริญและการผลิตรงควัตถุสีเหลือง โมนาโคลิน เค และซิตรินินของ Monascus purpureus TISTR 3541 ด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง ผลการทดลองพบว่า รา Monascus สามารถเจริญเติบโตได้บนกากมันสำปะหลัง รำข้าว และข้าวหัก โดยการเติม แหล่งคาร์บอน (กลูโคสและกลีเซอรอลความเข้มข้น 4% และ 8%) มีผลกระทบต่อการเจริญและการผลิตรงควัตถุสีเหลือง โมนาโคลิน เค และซิตรินินจาก M. purpureus เช่นเดียวกับการเติมแหล่งไนโตรเจน (เปปโตนและแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 1% และ 5%) ทั้งนี้ข้าวหักเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตรงควัตถุสีเหลืองจากรา Monascus รองลงมา ได้แก่ รำข้าวและกากมันสำปะหลัง ตามลำดับ โดยการหมักรา M. purpureus บนข้าวหักร่วมกับการเติมแอมโมเนียม คลอไรด์ 1% และกลูโคส 4% สามารถปรับปรุงการผลิตรงควัตถุสีเหลืองจากรา M. purpureus ได้ สูงสุด (526.77 OD units/g sdw) ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหักที่ปราศจากการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน ขณะที่ตัวอย่างยังคงมีปริมาณซิตรินินต่ำ (0.20 mg/kg) นอกจากนี้ข้าวหักยังเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมที่สุดส าหรับการผลิตโมนาโคลิน เค รองลงมา ได้แก่ กากมันสำปะหลังและรำข้าว ตามลำดับ โดยรา Monascus สามารถผลิตโมนาโคลิน เค ได้ สูงสุด เท่ากับ 40.33 mg/kg และมีปริมาณซิตรินินต่ำ (0.61 mg/kg) เมื่อหมักบนข้าวหักร่วมกับการเติมเปปโตน 1% และกลูโคส 4% ซึ่งปริมาณโมนาโคลิน เค เพิ่มขึ้น 4.4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหักที่ปราศจากการเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจน | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 78/2558 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กระบวนการหมัก | th_TH |
dc.subject | ของเสียทางการเกษตร | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การผลิตโมนาโคลิน เค รงควัตถุสีเหลืองและซิตรินิน โดย Monascus purpureus จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง | th_TH |
dc.title.alternative | The production of monacolin K, yellow pigment and citrinin by Monascus purpureus on argo-industrial byproducts in solid-state fermentation | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | sani@buu.ac.th | |
dc.year | 2561 | |
dc.description.abstractalternative | The effects of agricultural by-products supplemented with carbon source and nitrogen source on growth and the production of yellow pigment, monacolin K and citrinin by Monascus purpureus TISTR 3541 were studied by solid-state fermentation. The genus of Monascus was capable to growth on cassava residue, rice bran and broken rice. The supplementation of either carbon source (4% and 8% of glucose and glycerol) impacted on growth and the production of yellow pigment, monacolin K and citrinin by Monascus as well asthe supplementation of either nitrogen source (1% and 5% of peptone and ammonium chloride). The broken rice was the best substrate for yellow pigment production from Monascus, followed by rice bran and cassava residues, respectively. The broken rice supplemented with 1% of ammonium chloride and 4% of glucose achieved the highest yellow pigment concentration (526.77 OD units/g sdw) up to 2.5 times as compared with the broken rice without supplemented carbon source and nitrogen source, while the low yield of citrinin was obtained (0.20 mg/kg). In addition, the broken rice was also the best substrate for monacolin K production, followed by cassava residue and rice bran, respectively. The maximum amount of monacolin K was 40.33 mg/kg and low yield of citrinin was observed (0.61 mg/kg) when Monascus was cultivated on the broken rice supplemented with 1% of peptone and 4% of glucose. The monacolin K increased approximately 4.4 times as compared to the broken rice without supplemented carbon source and nitrogen source | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2562_002.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น