กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3452
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจุฑามาศ แหนจอน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:24:04Z
dc.date.available2019-03-25T09:24:04Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3452
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดสอบประสิทธิผลหลักสูตร การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น (EEFs-Ado) การวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฏี องค์ประกอบ การประเมินและการพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น ระยะที่ 2 การพัฒนามาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วยการสำรวจพฤติกรรม-แบบรายงานตนเอง (BRIEF-SR) ฉบับภาษาไทย และหลักสูตร EEFs-Ado ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของหลักสูตร EEFs-Ado กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนต้น จำนวน 58 คน ที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 คน กลุ่มทดลองได้รับการอบรมหลักสูตร EEFs-Ado สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ 50 นาที รวม 9 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติจากทางโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วย BRIEF-SR ฉบับภาษาไทย ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) วัยรุ่นที่ได้รับหลักสูตร EEFs-Ado มีคะแนนเฉลี่ยความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) วัยรุ่นที่ได้รับหลักสูตร EEFs-Ado มีคะแนนเฉลี่ยความบกพร่องของหน้าที่บริหารจัดการของสมองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) สรุปได้ว่า หลักสูตร EEFs-Ado มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองของวัยรุ่นระยะที่ 4 การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตร EEFs-Ado ผลการวิจัย พบว่า วัยรุ่นมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.52, SD= .74) และวัยรุ่นสะท้อนคิดว่ามีความสุข สนุกสนาน ได้ฝึกทักษะสำคัญของ EFs ที่สามารถนำไปใช้เสริมสร้าง EFs ในชีวิตประจำได้อย่างต่อยั่งยืน นอกจากนี้วัยรุ่นต้องการ ให้มีการอบรมเพื่อเสริมสร้าง EFs อย่างต่อเนื่อง และควรขยายผลไปยังนักเรียนชั้นอื่น ๆ ต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.subjectทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาth_TH
dc.subjectวัยรุ่นth_TH
dc.subjectหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการth_TH
dc.subjectหน้าที่บริหารจัดการของสมองth_TH
dc.titleการพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น โดยหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume28
dc.year2560
dc.description.abstractalternativeThis research was a developmental research. The purposes of this study were to develop and study the effect of the integrative learning modules to enhance the executive functions of a brain in adolescents (EEFs-Ado). The study was divided into four phases. The first phase was to establish the conceptual framework that included identifying the support theories, factors, measurement and the methods of enhancing EFs in adolescent. The second phase was to develop the research instruments: the Behavior Rating Inventory of Executive Function-Self Report (BRIEFSR) - Thai version, and the EEFs-Ado modules. The third phase was to study the effect of EEFs-Ado modules on the executive functions of the brain in adolescents. The sample consisted of 58 junior high school grade 7th students who studied in the first semester of the 2016 academic year at Bansuan (Chan Anusorn) School, Chonburi province. The sample was voluntary and willing to participate in the research project. The sample was randomly assigned into two groups: experimental and control group, each group consisted of 29 students. They were administered the BRIEF-SR Thai version. The experimental group received the EEFs-Ado modules which were designed by the researcher. The experiment lasted for 9 sessions, two sessions in each week. Each session lasted for 50 minutes. The control group did not get any training. The research design was a pretest-posttest design with the follow-up testing after 4 weeks. The data were analyzed with a repeated measures analysis by Bonferroni procedure. The results revealed that there was the interaction between the experimental method and the duration of the experiment (p< .05). The adolescent who received the EEFs-Ado modules demonstrated significantly lower executive dysfunction score than those who received no training program in the control group in both the posttest and follow-up phases (p< .05). The adolescent in the experimental group had significantly lower executive dysfunction score in the posttest and follow- up phases than the pretest phase (p< .05). It was concluded that the EEFs-Ado modules was effective in enhancing the EFs of adolescent. The fourth phase was to evaluate the satisfaction of participating in the EEFs-Ado modules of adolescent as well as improving the quality of EEFs-Ado modules. The re sults were that the adolescent had highest satisfactory towards the EEFs-Ado modules (X =4.52, SD= .74). The conten analysis shown that the adolescents were happy, joy, enthusiastic, relaxes and having opportunities to practice EFs skills. Moreover, the adolescents need to participate continuously in the EFFs-Ado modules and there should be the expanding of the EEFs-Ado modules to other students.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University.
dc.page130-144.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu28n2p130-144.pdf165.5 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น