กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3447
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนานโยบายเพื่อความสามารถในการแข่งขัน ของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Policy Development for the Competitiveness of Mae Sot Special Economic Zone |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศักดา ดีเดชา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาเศรษฐกิจ - - ไทย - - ตาก นโยบายเศรษฐกิจ - - ไทย - - ตาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ - - ไทย - - แม่สอด (ตาก) |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนีีมีวัตถุปุระสงค์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบาย และการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดดำเนินการโดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed methodology) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เชิงปริมาณ (Quantitative research) ตามแนวทางการทางการวิจัยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation method) โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อ พัฒนาดัชนีชี้วัด และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบไปด้วยกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกลุ่มผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดทั้ง ในส่วนกลาง และในระดับพื้นที่ รวมถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จากนั้นนำ ผลการวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ดีในระดับนานาชาติเพื่อนำมากำหนด ประเด็นสำคัญด้านนโยบาย และแนวทางการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ตามความต้องการของทุกภาคส่วนได้ จากนั้นจัดทำร่างข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบาย และการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจแม่สอดเพื่อความสามารถในการ แข่งขันระดับนานาชาติ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็น (Public hearing) และวิธีการสำรวจทัศนคติสาธารณ (Public opinion survey) จากกลุ่มผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และนำข้อมูลจากการรับฟังความ คิดเห็นและสำรวจทัศนคติสาธารณะไปรวบรวมประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะในงานวิจัย ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ มีวัตถุประสงค์เชิงนโยบายต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษแม่สอดในประเด็นที่คล้ายคลึงกัน คือ ต้องการให้เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นกลไกในการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับประเทศเมียนมาร์ ในประเด็นที่ยังมีความเห็นแย้ง คือ ด้านการจัดการที่ดิน และแรงงานอย่าง เหมาะสมในพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอของภาคเอกชนบางกลุ่มต้องการให้มีการกำหนดค่าแรงงานขั้นต่ำในพื้นที่สำหรับแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำที่ประเทศไทยกำหนด รวมถึงการนำพื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนมากำหนด เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ในขณะที่ภาคประชาชนและแรงงานไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว นอกจากนั้นภาคประชาชน และแรงงานยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตในพื้นที่ ข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมประเทศไทยเข้ากับประเทศเมียนมาร์ วางจุดยืนร่วมในการพัฒนากับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีโดยอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้น สำหรับ สินค้าที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีซึ่งได้เปรียบด้านต้นทุน แต่ยังต้องพึ่งพาการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่มีข้อจำกัดจากประเทศไทย และเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรเน้นอุตสาหกรรมแปรรูป ขั้นกลางหรือแปรรูปขั้นปลายที่มีมูลค่าสูงเพื่อต่อยอดจากวัตถุดิบซึ่งแปรรูปมาจากเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี และส่งเสริมธุรกิจที่รองรับอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ โดยขอบเขตพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรกำหนดให้ ครอบคลุมทั้งอำเภอโดยกำหนดประเภทธุรกิจเป้าหมายการส่งเสริมแทนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบล้อมรั้วมิดชิดซึ่งอาจทำให้การเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการทอ้ งถิน่ และในประเทศคอ่ นข้า งจำกัด และรัฐบาลกลางควรกำหนดการถ่ายโอน อำนาจการอนุญาต อนุมัติที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานในท้องถิ่น และกำหนดให้มีแนวทางการพัฒนาบริการภาครัฐ พัฒนาระดับสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภค และสันทนาการต่างๆ ตลอดจนควรมีแผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และมลภาวะที่ดี |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3447 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
mba10n2p105-122.pdf | 205.74 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น