กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3441
ชื่อเรื่อง: กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สุรัตน์ ไชยชมภู
สรรนภา แน่นหนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
ประกันคุณภาพการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากร ดัชนีบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาจากสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา และเปรียบเทียบกระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบายขยายความกลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในภาคตะวันออก 8 จังหวัด รวม 160 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ แล้วเลือกสนามศึกษาแบบเจาะจง 2 กลุ่ม รวม 4 โรงเรียน คือ กลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบด้วยวิธีการวิพากษ์โดยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ค่าเฉลี่ยโดยรวมเกือบทุกขนาดอยู่ในระดับมา ยกเว้นขนาใหญ่พิเศษอยู่ในระดับมาที่สุด จำแนกตามสภาพที่ตั้งของโรงเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุของค่าคะแนนเฉลี่ย จำแนกตามขนาดและสภาพที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวม พบว่า ขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน กระบวนการบริหารคุณภาพไม่แตกต่างกัน และสภาพที่ตั้งของโรงเรียนที่ต่างกันกระบวนการบริหารคุณภาพไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาร่วมกัน พบว่า ขนาดของโรงเรียนและสถาพที่ตั้งของโรงเรียน มีอิทธิพลร่วมที่ทำให้กระบวนการบริหารคุณภาพโดยเฉลี่ยแตกต่างกัน ส่วนวิธีเชิงคุณภาพ พบว่า 1. กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ กำหนดมาตรฐานคุณภาพ และติดตามทบทวนแผน 2) การจัดองค์การโรงเรียนจัดโครงสร้างเป็น 4 กลุ่มงาน คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป 3) การอำนวยการ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการนิเทศงาน กำกับ ติดตามงาน มีการสร้างแรงจูงใจ และมีการสื่อสาร 4) การควบคุมโรงเรียน มีการควบคุมมาตรฐานโดยการสร้างมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงคุณภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร และการประกันคุณภาพการศึกษา 2. ดัชนีบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาจากสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบและดัชนีคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัย ได้แก่ บริบทของสถานศึกษา ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และ 3) ด้านการผลิต/ผลลัทธ์ ได้แก่ คุณภาพผู้เรียน 3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษา ในกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูง กับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำ พบว่า 1) บริบทของสถานศึกษาแตกต่างกัน 2) ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน 3) การบริหารจัดการ พบว่า ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน แต่พฤติกรรมการบริหารแตกต่างกัน 4) การจัดการเรียนรู้ พบว่า ด้านคุณลักษณะของครูและด้านหลักสูตรไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านพฤติกรรมการดรียนของผู้เรียนแตกต่างกัน 5) ด้านผลผลิต/ผลลัทธ์ คุณภาพผู้เรียน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3441
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
eduman9n2p103-115.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น