กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3438
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล | |
dc.contributor.author | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม | |
dc.contributor.author | ภารดี อนันต์นาวี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:23:29Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:23:29Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3438 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,620 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาจากกรสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างใช้โปรมาแกกรมสำเร็จรูป SPSS ส่วนการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม AMOS ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลทางบวกสูงสุดต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านนักเรียน รองลงมาเป็นอิทธิพลปัจจัยสังคม/ ชุมชน และปัจจัยสื่อ/ เทคโนโลยี ตามลำดับ และร่วมกันทำนายพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ ปัจจัยด้านนักเรียน ส่งผลทางบวกและทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ปัจจัยด้านเพื่อน ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะและส่งผลทางอ้อมโดยผ่านปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัวส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะแลละส่งผลทางตรงต่อปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู และส่งผลทางอ้อมโดยผ่านปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนโดยส่งผ่านปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสื่อ/ เทคโนโลยี ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะและส่งผลทางตรงต่อปัจจัยด้านครอบครัว และส่งผลทางตรงและทางอ้อมโดยผ่าน ปัจจัยยด้านโรงเรียน/ ครู ปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสังคม/ ชุมชน ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะส่งผลทางตรงต่อปัจจัยครอบครัว ส่งผลทางตรงและทางอ้อมโดยผ่าน ปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู ปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ฐานะไม่ดี มีพฤติกรรมจิตสาธารณะมากกว่านักเรียนครอบครัวที่มีสถถานภาพเศษฐกิจ ฐานะดี และได้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th |
dc.subject | จิตสาธารณะ | th_TH |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | th_TH |
dc.title | ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 9 | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to determine factors affecting and to construct a linear structural relation model of factors affecting the public mind behaviors of secondary school students under of Office of the Basic Education Commission. The sample consisted of 1,620 secondary school students by means of proportional stratified random sampling. The research instruments used in this study were three set of five rating scale questionnaires The data was analyzed by descriptive statistic using SPSS program. The analysis of the linear structural relationship model and the confirmatory factor analysis were AMOS program. The findings were found that the factor of student had been positively and mostly affected the public mind behaviors of students and followed by social / community and media / technology respectively. They could predict the public mind behaviors of students by 54 percent with statistical significance at the .01 level. Factor of student had been directly and positive affected the public mind behaviors of students. Factor of peers was directly affected the public mind behaviors of students and indirectly the through factor of student. Factor of family was directly affected the public mind behaviors of students and directly affected the factor of school / teacher and indirectly the through factor of student. Factor of peers and factor of student. Factor of school / teacher was directly and indirectly affected the public mind behaviors of students through factor of peers and peers of student. Factor media / technology was directly and indirectly affected the public mind behaviors of student and directly affected the factor of family and directly and school / teacher, factor of peers, factor of student. Factor of social / community was directly and positive affected the public mind behaviors of students secondary school and directly affected the factor of family and directly and positive affected the public mind behaviors of school / teacher, factor of peers and factor of student. By analyzing of multi-group; male students showed the public mind behaviors higher than female students and those were from the poor families showed the public mind behaviors higher than those from the rich families. It was concluded that the linear structure relationship model factor had been affected the public mind behaviors of students and showed their congruity with reliable and accepted evident data | en |
dc.journal | วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of educational administration Burapha University | |
dc.page | 76-90. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
eduman9n2p76-90.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น