กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3430
ชื่อเรื่อง: การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prevention of adolescent depression: From evidence to practice
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงใจ วัฒนสินธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
วัยรุ่น - - สุขภาพจิต
โรคซึมเศร้า - - การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สาคัญของประชากรทั่วโลก และ เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัว และสังคม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเพื่อนาไปใช้ในการพัฒนาระบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพสาหรับวัยรุ่นในประเทศไทย หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าการป้องกัน ภาวะซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพควรเริ่มตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกก่อนมีอาการ โดยการจัดกิจกรรมที่ลดปัจจัยเสี่ยง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง โปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่มีพื้นฐานแนวคิดมาจากการบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม หรือการบำบัดด้วยสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเหล่านี้สามารถลดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบดังกล่าวเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาระบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย พยาบาลควรเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นดาเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การประเมินภาวะซึมเศร้าอย่างครอบคลุม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะชีวิต นอกจากนี้พยาบาลยังควรเป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างวัยรุ่น ครอบครัว โรงเรียน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และชุมชนในการป้องกันภาวะซึมเศร้าอย่างประสิทธิภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3430
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n1p1-12.pdf324.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น