กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3423
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors leading to success in the implementation of evidence based nursing practice of professional nurses |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ ประนอม โอทกานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพยาบาล การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ พยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง 5 คน และวิธีบอกต่อ 12 คน จากคุณสมบัติ ได้แก่ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีผลงานทางวิชาการและ/หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน (1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเพื่อนำสาระที่ได้มากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยและ กรอบการสัมภาษณ์ (2) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 รอบ โดยรอบที่ 1 เพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่ทำให้พยาบาลใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล แล้วนำข้อมูลไปจัดกลุ่มจัดทำเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ รอบที่ 2 นำแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ได้จากรอบที่ 1 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ รอบที่ 3 นำข้อมูลในรอบที่สองมาสรุปแล้วนำไป ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยกำหนดค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับหรือมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.50 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพประกอบด้วย 6 ปัจจัย 37 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยด้านลักษณะองค์กร มี 9 องค์ประกอบ (2) ปัจจัยด้านลักษณะ ของผู้บริหารทางการพยาบาล มี 3 องค์ประกอบ (3) ปัจจัยด้านลักษณะของพยาบาลวิชาชีพ มี 13 องค์ประกอบ (4) ปัจจัยด้านลักษณะของสิ่งอำนวยความสะดวก มี 4 องค์ประกอบ (5) ปัจจัยด้านคุณภาพของงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ มี 5 องค์ประกอบ และ (6) ปัจจัย ด้านการสื่อสารและการเข้าถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ มี3 องค์ประกอบ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรนำปัจจัย 6 ด้าน และ 37 องค์ประกอบ ไปประกอบการพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมให้พยาบาล วิชาชีพใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3423 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus24n3p94-103.pdf | 236.28 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น