กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3423
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ พุทธรักษา
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
dc.contributor.authorประนอม โอทกานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:27Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:27Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3423
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง 5 คน และวิธีบอกต่อ 12 คน จากคุณสมบัติ ได้แก่ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีผลงานทางวิชาการและ/หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน (1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเพื่อนำสาระที่ได้มากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยและ กรอบการสัมภาษณ์ (2) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 รอบ โดยรอบที่ 1 เพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่ทำให้พยาบาลใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล แล้วนำข้อมูลไปจัดกลุ่มจัดทำเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ รอบที่ 2 นำแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ได้จากรอบที่ 1 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ รอบที่ 3 นำข้อมูลในรอบที่สองมาสรุปแล้วนำไป ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป โดยกำหนดค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับหรือมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.50 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพประกอบด้วย 6 ปัจจัย 37 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยด้านลักษณะองค์กร มี 9 องค์ประกอบ (2) ปัจจัยด้านลักษณะ ของผู้บริหารทางการพยาบาล มี 3 องค์ประกอบ (3) ปัจจัยด้านลักษณะของพยาบาลวิชาชีพ มี 13 องค์ประกอบ (4) ปัจจัยด้านลักษณะของสิ่งอำนวยความสะดวก มี 4 องค์ประกอบ (5) ปัจจัยด้านคุณภาพของงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ มี 5 องค์ประกอบ และ (6) ปัจจัย ด้านการสื่อสารและการเข้าถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ มี3 องค์ประกอบ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรนำปัจจัย 6 ด้าน และ 37 องค์ประกอบ ไปประกอบการพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมให้พยาบาล วิชาชีพใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.subjectการพยาบาลth_TH
dc.subjectการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์th_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.titleปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพth_TH
dc.title.alternativeFactors leading to success in the implementation of evidence based nursing practice of professional nursesen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume24
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study factors influencing the success of the implementation of evidence based nursing practice of professional nurses. Delphi technique was utilized with a sample of 17 experts; 5 from purposive selection and 12 from snowball technique based on the criteria of (1) clinical nurse specialist working as a lecturer at a Faculty of Nursing/Nursing college, (2) completed doctoral level, and (3) had academic background and / or gained clinical experience of the evidence- based practice. Instrument was a guideline of the interview developed by the researcher. Research procedure was conducted into 2 phases; (1) reviewed literature and document analysis for the conceptual development and the scope of interviewing guideline and (2) interviewed experts for 3 rounds for making a conclusion. The first round was conducted to list important factors leading to success in the implementation of evidence based practice of professional nurses, and then the leading factors of success items were categorized and developed to be item lists. The second round, experts were asked to range order of the important factors and rated on 1-5 scale. Then, the factors leading to success were analyzed by median and interquatile range. The third round, expert agreements were confirmed about the results of the second round. For a conclusion, data were analyzed again by median and interquatile range based on median ranked ≥ 3.50, interquatile ranked <1.50. The results showed that leading factors to success of the implementation of evidence-based nursing practice of professional nurses included 6 factors with 37 elements. The details were as follows; the organizational factor composed of nine elements, factor of characteristic of nurse administrators composed of three elements, factor of nurses composed of thirteen elements, factor of facility composed of four elements, evidence composed of five elements, and factor of communication and access to empirical evidence composed of three elements. The results of this study suggested that nurse administrators should use this research results to enhance professional nurses for developing nursing intervention based on evidence based practice to improve quality of careen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page94-103.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n3p94-103.pdf236.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น