กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3413
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors predicting nutritional health-promotion behaviors among pregnant adolescents |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณี เดียวอิศเรศ ศิริวรรณ แสงอินทร์ รัตนาภรณ์ ตามเที่ยงตรง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่งเสริมสุขภาพ ครรภ์ในวัยรุ่น สตรีมีครรภ์ - - สุขภาพและอนามัย สตรีมีครรภ์ - - โภชนาการ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้าน โภชนาการและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยนำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 97 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ตัวแปรที่ ศึกษาทั้งหมด ซึ่งได้แก่ การรับรู้อุปสรรคในการส่งเสริม สุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และการสนับสนุน ทางสังคม สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้ร้อยละ 38.8 (F3, 93 = 19.638, p < .001) โดยการรับรู้ อุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการสามารถทำนายพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (ß = -.374, ß = .386, p < .001 ตาม ลำดับ) การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลพัฒนารูปแบบการพยาบาล โดยส่งเสริมความสามารถ และลดอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการที่ดีต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3413 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
nus25n1p49-60.pdf | 235.34 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น