กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3353
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเอกวิทย์ มณีธร
dc.contributor.authorศุกลักษณ์ เหลี่ยมวรางกูร
dc.contributor.authorกุลญาดา เนื่องจำนงค์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:22Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3353
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และ 3) ศึกษาข้อเสนอในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้ทำหารวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เจาะลึก การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประชากรของการวิจัย คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.75) อายุเฉลี่ย 35 ปี รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 23,100 บาท มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 45.25) มีอาชีพพนักงานบริษัท ลูกจ้าง (ร้อยละ 40.0) และมีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 45.25) ในภาพรวม ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.01) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ในระดับน้อยในทุกด้าน โดยเรียงลำดับดังนี้ มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 2.24) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (ค่าเฉลี่ย 2.14) มีส่วนร่วมในการประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 1.87) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ค่าเฉลี่ย 1.81) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ อาชีพ สถานภาพสมรส มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ บทบาทในครอบครัว และจำนวนช่องทางที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับตัวแปรระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 3) ปัจจัยด้านทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาซียน ได้แก่ คุณลักษณะด้านคุณธรรมละความสามารถของผู้นำในชุมชน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และความตระหนักในการป้องกันมลพิษ ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริหารจัดการทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อม - - การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.subjectสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativePeople's participation in environmental management in transition to ASEAN Community: A case study of Eastern Seaboard Development Program (ESB)en
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume8
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were as follows; 1) To study the level of people participation in environment management of the Eastern Seaboard Development Project 2) To study factors affecting people participation in the environmental management of the project 3) To study proposals for the people participation in the project with the sustainable management of the environment. Both qualitative and quantitative methods were employed in the research. The qualitative methods included documentary research, focus group and in-depth interview. A questionnaire was used as a quantitative instrument. The research population consisted of the people in the project area covering three provinces, that are Chonburi, Rayong and Chachoengsao. The sample comprised 400 respondents. As for personal factors, the research found that the majority were female (50.75%), 35 years on average , having monthly income of 23,100 Baht on average, having Bachelor’s degree or equivalents (45.25%), company employees or hired worker (40%) and were married (45.25%). As for factors affecting people participation, the research found as follows; 1. The personal factors that affected the people participation were income occupation marital status. However, the people participation was not affected by sex age and education level. 2. The social factors that affected the people participation were family role, number(s) of news and information channels. Duration of time staying in the community did not affected the people participation. 3. The capital factors related to the preparation for entering ASEAN Economic Community indicated that the respect of ethics and ability of community leaders affected on the people participation however the aspect of knowledge and participation had no effect on the people participation. 4. The proposals were presented as follows; The government sector should promote the productions and services that were environmental friendly. The promotion of reducing greenhouse gases. Dealing with climate change. Having efficient checking products and services in order to protect environment. Managing the capital of natural resources and environmenten
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law
dc.page61-94.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
politic8n2p61-94.pdf389.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น