กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3347
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรม ความขัดแย้ง และการเป็นตัวแทน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Culture, conflict and representation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การจัดระเบียบชุมชน - - ไทย - - กรุงเทพฯ
การพัฒนาเมือง - - ไทย - - กรุงเทพฯ
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: ความขัดแย้งระหว่างชุมชนป้อมมหากาฬกับกรุงเทพมหานครดูเหมือนเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากการไล่รื้อชุมชนดังเช่นที่เกิดกับชุมชนอื่น ๆ เช่น ชุมชนสะพานหัน แต่ในความเป็นจริงพบว่า เป็นความขัดแย้งจากการนิยามคำว่า “วัฒนธรรม” ที่ต่างฝ่ายต่างถือนิยามที่แตกต่างกัน และความขัดแย้งยิ่งยืดเยื้อต่อไปเมื่อเชื่อมโยงสาระของวัฒนธรรมเข้ากับนิยามการพัฒนา จากแนวคิดของสจ๊วต ฮอลล์ พบว่า ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นจากการที่มีนิยามวัฒนธรรมที่หลากหลายและนิยามต่าง ๆ ต่างก็พยายามช่วงชิงอำนาจการนำ ประดุจการสู้รบในสนามรบโดยการสู้รบนี้จะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะนิยามที่มีบทบาทนำในวันนี้ก็ต้องพยายามรักษาสถานะของตนเอง ชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งไม่มีออำนาจตามกฎหมาย จำต้องอาศัยประชาชนทั่วไป นักวิชาการ และภาคประชาสังคมมาร่วมกันสร้างนิยามและความชอบธรรมในนิยามด้วยการสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนให้ชัดเจนขึ้นผ่านสื่อต่าง ๆ ในขณะที่กรุงเทพฯ ที่มีอำนาจตามกฎหมายและดำเนินการต่าง ๆในฐานะตัวแทนของประชาชนและการนำเสนอถึงเจตนาดีในการสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองหลวงที่น่าอยู่ ก็ได้ใช้สิ่งนี้ในการเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
bpe4n2p31-56.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น