กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3334
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmer credit card usage behavior of Thai farmers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมหมาย แจ่มกระจ่าง
กรกฤช ตันติจารุภัทร์
ศรีวรรณ ยอดนิล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชาวนา - - ไทย
บัตรเครดิต
สินเชื่อเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรม ผลกระทบและการปรับตัวของชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรในช่วงโครงการนำร่องปี พ.ศ. 2555-2558 2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรในภูมิภาคต่าง ๆ ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้เหมาะสมและ เป็นประโยชน์แก่ชาวนาไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก้บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลและสนทนากลุ่ม คือ ชาวนาไทยีท่ได้รับบัตรสินเชื่อเกษตรกร ผู้นำชุมชน/ แกนนำชุมชน/ หัวหน้ากลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับบัตรสินเชื่อเกษตรกร ผุ้ประกอบการร้านค้าเกษตรที่เข้าร่วมโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรพนักงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส)ที่เกี่ยวข้องกับโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรและมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่นำร่องของโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรทั้ง 5 จังหวัดนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ชาวนามีพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรและกลุ่มไม่ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร โดยพฤติกรรมการใช้บัตรระหว่างภาคกลาง ถาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแตกต่างกัน คือ ชาวนาภาคกลางใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งให้ผู้อื่นใช้บัตรตนเองใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลกระทบทางบวก มีความคล่องตัวในการหมุนเงินเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีเงินทุนสำรองยามฉุกเฉินจากวงเงินของบัตร ส่วนผลกระทบทางลบ คือ การมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันคนในกลุ่มที่ต้องการเพิ่มวงเงินของบัตร ส่วนผลกระทบทางลบ คือ การมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันคนในกลุ่มที่ต้องการเพิ่มวงเงิน และการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วยวงเงินของสินเชื่อเกษตรกร การปรับตัวของชาวนาในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของตนเองเกิดประโยชน์ของตนเอง สำหรับแนวทางการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่ชาวนาควรเป็น ดังนี้ 1)ด้านผู้เกี่ยวข้อง ควรมีการทบทวนขั้นตอนการออกบัตรสินเชื่อเกษตรกร 2)สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส (ส.ก.ต) ควรจัดหาสินค้าให้มีความหลากหลายให้เป็นไปตามความต้องการของชาวนา 3)ด้านราคาสินค้าและการประชาสัมพันธ์ ควรมีการควบคุมราคาสินค้าให้เป็นธรรม 4)ด้านภาระหนี้สินของเกษตรกรควรส่งเสริมให้เกษตรกรหยุดการก่อกหนี้นอกระบบ โดยการขอความร่วมมือองค์กรอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการลดภาระหนี้สินและส่งเสริมการประกอบอาชีพพิเศษ 5) ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรแก่ชาวนา ควรส่งเสริมให้ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรตรงตามความวัตถุประสงค์ 6) ด้านหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการใช้เงินคืนตามกำหนดเวลา ควรดำเนินการประเมินผล และชี้แจงผลการประเมินงานแนวทางต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ และคืนให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3334
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p130-140.pdf665.91 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น