กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3333
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตร์การจัดการที่ดินของรัฐ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies of public land management at Koh Chang district, Trat province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมหมาย แจ่มกระจ่าง
ศรีวรรณ ยอดนิล
เกียรติ์ชาย นาคสุขไพบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การใช้ที่ดิน - - ไทย - - เกาะช้าง (ตราด)
ที่ดินของรัฐ - - ไทย - - เกาะช้าง (ตราด)
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการใช้ที่ดินของรัฐและเพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการที่ดินของรัฐ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยเน้นพื้นที่ด้านทิศเหนือเกาะ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภาพถ่ายทางอากาศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ จำนวน 14 คน และจัดการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำท้องถิ่น กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า 1.พัฒนาการใช้ที่ดินและปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ ในเขตอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อ พ.ศ. 2535 ทำให้ชุมชนขยายตัวเพิ่ม มากขึ้น มีการสร้างเส้นทางหลักที่ถาวรเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าถูกแผ้วถางร้อยละแปดสิบ ของที่ราบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐรัฐบาลจึงได้กำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ 2535 ขึ้นมาเป็นนโยบายของรัฐโดยจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญกาการบุกรุกที่ดินของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ติดตามกำกับดูแล ให้ส่วนราชกาลต่างๆดำเนินดารให้เป็นไปตามมาตรการ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐเร่งรัดให้ดำเนินการสำรวจจัดทำแนวเขตที่ดินของรัฐ ที่อยู่ในความดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องและชัดเจน 2.ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ คณะรัฐมนตรีต้องกำหนดให้ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐเป็นวาระแห่งชาติ ควรแก้ไขระเบียบกฎหมายของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันคณะกรรมการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐจังกวัตราดต้องจัดให้มีเวทีการพูดคุย เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศดำเนินการเป็นพื้นที่ชุมชน หรือเป็นระวาง กรมที่ดินกรมธนารักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติและพันธุ์พืช และกองทัพเรือ ต้องร่วมกันกำหนดขอบเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน ต้องเข้มงวดในการตรวจตราพื้นที่ การตรวจสอบแนวเขตตามหบักฐานทางแผนที่หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.ยุทธศาสตร์การป้องกันการบุกรุกที่ดินรัฐ กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ และกองทัพเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลรับผิดชอบโดยตรง กรมที่ดินต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อรับผิดชอบศูนย์ข้อมุลที่ดินทั้งประเทศในส่วนของกรมธนารักษ์ และกองทัพเรือ ต้องพิจรณาในการขอใช้พื้นที่โดยคำนึงเป็นในการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้เช่า ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่ขอเช่า
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3333
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p119-129.pdf459.49 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น