กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/331
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสายัณห์ ละออเอี่ยม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/331
dc.description.abstractบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบูรพา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่สอดคล้องกับงานในหน้าที่หลักส่งผลให้บุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากแนวคิดของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพาทั้ง 3 วิทยาเขต และแนวคิดที่สำคัญในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการวิจัย 7 ขั้นคอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสาร 2) การวิเคราะห์หารูปแบบการพัฒนาบุคลากร โดยใช้แบบสอบถาม 3) สร้างรูปแบบจำลอง 4) การพัฒนาให้เหมาะสมโดยผ่านผุ้เชี่ยวชาญ 5) การตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6) การสัมมนากลุ่มย่อยและ 7) การประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ 1) โครงการและกิจกรรมจะต้องประกอบด้วย ปรัชญา ความมุ่งหมาย เนื้อหา และกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านการพัฒนาหน่วยงานและระบบสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจะต้องประกอบด้วย นโยบาย หน่วยงาน แหล่งข้อมูล ประสิทธิภาพของการสื่อสาร การบริหาร ระบบเสริมกำลังใจ การพิจารณาความดีความชอบ อาคารสถานที่และการบริการ 3) ด้านการดำเนินงานของหน่วยงานจะต้องประกอบด้วย การบริหาร แนวทางในการดำเนินงาน ภารกิจหลัก และคณะกรรมการบริหาร ผลการพัฒนารูปแบบไปทดลองใช้กับบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ และบุคลากรได้ประเมินรูปแบบหลังการทดลองใช้ปรากฏผลดังนี้ 1.โครงการและกิจกรรม บุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.การพัฒนาหน่วยงานและระบบสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรกลุ่มงานวิชาการ บุคลากรมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.การดำเนินงานของหน่วยงานพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ บุคลากรมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุปผลการวิจัยรูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นอย่างยิ่งในด้านการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการบริการและพัฒนาบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา ยิ่งในสภาวะปัจจุบันทุกที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต่างปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะยิ่งการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนกับผู้รับการบริการ ผู้บริหารควรนำความต้องการของบุคลากร โดยพิจารณาร่วมกับเป้าหมายผุ้บริหารได้กำหนดไว้ เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งที่สนองความต้องการทั้งสองฝ่าย รูปแบบที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษานี้ เป็นรูปแบบที่เป้นภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัยบูรพาไม่ได้แยกตามวิทยาเขต ดังนั้นการนำผลการวิจัยไปใช้ควรวิเคราะห์นำส่วนที่เกี่ยว้องไปดำเนินการต่อ จะช่วยให้ได้ประโยชน์ที่แท้จริง ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเป้นระยะๆ เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมจะต้องสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตลอดเวลา ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นความคิดเห็นที่มีรายละเอียดหลายประการ ผู้นำไปปฏิบัติอาจเลือกดำเนินตามที่เห็นควร และอาจแบ่งดำเนินการไปทีละประเด็นแล้วแต่ความเหมาะสม และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่มหาวิทยาลัยบูรพา ควรดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพาพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อรองรับการเข้าสู่มหาวิทยาลัยวิจัยอันเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา - - การบริหารงานบุคคลth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา - - การพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา - - ข้าราชการและพนักงานth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการของมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeA study of development model of academic staff in Burapha Universityen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeAcademic Staff of Burapha University, the important group for university process management, need to get developed their efficiency and effectiveness in work. This research was to study development model for these group and evaluate this model by the main academic staff opinion form three campus as well as analysis of the main concepts of experts both Thai and foreigners. The seven steps of this research methodology compoared of 1) document analysis 2) questionnaire for search the model of development 3) building the model form 4) improvement and adaptation the model by experts 5) recheck and confirmation the model by experts 6) focus group interview and 7) evaluation the model The result of this research found that the development model of academic staff in Burapha University composed of three components as followed 1) projects and activities composed of philosophy, objective ,contents and recreations for development 2) Organizational development and personal system composed of policy , modern and welfare in workplace, enforcement and benefits , organizational environment and good service system 3) Organizational management composed of administrative process and approach , main function, mission, effectiveness of staff. The result of evaluation model for academic staff development revealed that 1)Projects and activities, the total opinion level of the staff was more 2)Organizational development and personal system, the total opinion level of the staff was more 3)Organizational management, the total opinion level of the staff was more In conclusion, participatory action research should be used for operational conference the academic staff. This result should be added into the University policy for personal development and then, it aught to analyst need assessment of the staff for forming an appropriated policy for personal development in the future.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น