กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3302
ชื่อเรื่อง: | การสร้างเสริมพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าเศษผ้า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Work behavior and workplace environment promotion to remnant fabric workers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง ศรีวรรณ ยอดนิล อรวรรณ คุณสนอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำงาน การประดิษฐ์ด้วยผ้า การประเมินพฤติกรรม สภาพแวดล้อมการทำงาน สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานและและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จาดเศษผ้าและพัฒนากระบวนการสร้างเสริมพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม ได้แก่ การศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อประเมินพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าในเขตกรุงเทพมหหานครและปริมณฑลและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงปฏิพัติการแบบมีส่วนร่วมที่ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า
1.พฤติกรรมการทำงานของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้อง พฤติกรรมการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงและนั้งพนักพิงเก้าอี้ นั่งหลังตรงตลอดเวลาการทำงาน และการใช้ปลั๊กอุดหู/ที่ครอบหูขณะทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้อง ที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเคมี การประเมินสุขภาพตนเองของผู้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าส่วนใหญ่ไม่พบอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่พบ ได้แก่ ปวดศรีษะเมื่อตามตัว ส่วนอาการเจ็บปวดโครงร่างกระดูกกล้ามเนื้อระหว่างการทำงานของผู้ประดิษฐผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าในรอบ 1 ปี โดยมีอาการเจ็บปวดในช่วงเวลาการทำงานพักและหาย ได้แก่ หัวเข่า ไหล่ และ คอ ส่วนที่มีอาการปวดในช่วงเวลาการทำงาน ได้แก่ หลังส่วนล่าง และ น่อง รองลงมา ไหล่ และมือ/ข้อมือ
2.กระบวนการสร้างเสริมพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ท่าทางสำหรับออกกำลังกาย กิจกรรม 5 ส บวก 2 ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม) 3) ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำโครงการสร้างเสริมพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) นำโครงการไปปฏิบัติ 5) จัดเวลาแลกเปลี่ยนความรู้
ข้อแนะนำ 1) ควรนำกระบวนการสร้างเสริมพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานมาประยุกต์ใช้กับแรงงานนอกระบบอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการปรับสภาพแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่เหมาะสม 2)ควรวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานและอุปกรณ์การปฏิบัติงานให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ The purposes of this research were to study work behavior and workplace environment of remnant fabrics workers and develop the process of work behavior and workplace environment promotion to remnant fabrics workers by using mixed methods research including survey using checklist questionnaire to evaluate work behavior and workplace environment to remnant fabrics worker in Bangkok and perimeter. A qualitative method of participatory action research had done at Bang Pla Kod Sub-District, Pra Samut Jedi District, Samut Prakarn , Province, Thailand. The results were as followed: 1. Work behavior of most remnant fabric workers perform correctly. The wrong behavior were sitting on a chair with a backrest and some workers were leaning against chairs while they were working, sit back straight at all time to operating it, using earplug/ earmuffs while working Most operating environment practices properly The practice was not proper included chemical environment. Most assessments of their health had no symptoms. Abnormal symptoms include headache and body aches but bone pain, skeletal muscles during the work experience of the workers who worked in the first year and had symptoms during the work. However after they had a break during work hours, the pain was gone, such as knee, shoulder and neck but some parts of body still got pain even after having a break, such as lower back, shoulder and hand/ wrist 2. The process of work behavior and workplace environment promotion follow these steps: 1) Study the work behavior and workplace environment 2) Provide the training about the work behavior and workplace environment, motion for fitness, and 5s training plus H and E(organization Neatness, cleaning, standardization, Discipline, Health and Environment) 3)Participatory action to develop the work behavior and workplace environment project 4)Project Implementation 5) Knowledge Sharing and conclude the process. suggestions 1) The process should be applied for work behavior and workplace environment promotion and apply to other workers to learn to adjust on the environment and the proper functioning, 2) Research and development of equipments to adapt for workplace environment and the work behavior to be appropriate by ergonomics should be done. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3302 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusocial11n2p59-70.pdf | 309.94 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น