กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3294
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านมะขาม (สาครมะขามราษฎร์) จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of science teachers development in primary school: Banmakham School as a case study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
ภุชงค์ บุญอภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาบุคลากร
ครู
ครูวิทยาศาสตร์
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและเพื่อกำหนดกรอบของกระบวนการ และเกณฑ์การพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา โดยกำหนดใช้เทคนิควิธีวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 13 คน ของโรงเรียนบ้านมะขาม จังหวัดจันทบุรี เก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 1) กำหนดเป้าหมายร่วมกันของครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง 2) กำหนดกิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เป็นการกำหนดมาตรฐาน กำหนดศักยภาพสถานศึกษาและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3) การกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนา เป็นการพัฒนาทีมงานของครู การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายใน – ภายนอกโรงเรียน การพัฒนาวิชาชีพครูผู้สอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4) พัฒนาครูตามกระบวนการ PAOR 3 รอบ และ 5) การประเมินผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย 2. กระบวนการพัฒนา กิจกรรมการพัฒนาและเกณฑ์การพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา มี 5 กระบวนการคือ 1) การพัฒนาทีมงาน ประกอบด้วย การสร้างทีมงานนันทนาการ การออกกำลังกาย การดูแลซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การผลิตสื่อ ประเมินผ่านเกณฑ์การพัฒนา ร้อยละ 85-100 2) การกำหนดแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้แหล่งเรียนรู้ ประเมินผ่านเกณฑ์การพัฒนาร้อยละ 80-100 3) การพัฒนาวิชาชีพ ประกอบด้วย การอบรมปรัชญาและทฤษฎีการสอน การใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ จัดทำคู่มือการใช้อุปกรณ์และสื่อ และการผลิตสื่อการสอน ประเมินผ่านเกณฑ์การพัฒนาร้อยละ 80-100 4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย การสังเกตการสอนในชั้นเรียน อบรมเทคนิคการสอน ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการเรียนรู้ศึกษาดูงานการสอน ประเมินผ่านเกณฑ์การพัฒนาร้อยละ 80-100 5) การวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำวิจัยในชั้นเรียน จัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียน และการใช้เทคโนโลยีเสนอผลงานวิจัย ประเมินผ่านเกณฑ์การพัฒนา ร้อยละ 90-100
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3294
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
eduman8n1p103-116.pdf540.74 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น