กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/329
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health behaviors and factors related to overweight in students of the demonstration school at Burapha university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขันทอง สุขผ่อง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียน - - โภชนาการ
บริโภคกรรม
บริโภคนิสัย
พฤติกรรมสุขภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เพศ ประวัติครอบครัว รายได้ของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิต "พิบุูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 251 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ไคว์-แสควร์ และอัตราเสี่ยง (Odds ratio) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 65.7 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 27.5 และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.8 พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและปฏิบัติ 5-7 วันต่อสัปดาห์มากที่สุดคือ การรับประทานอาหารมื้อเช้า รองลงมาคือ การรับประทานอาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น ครบ 3 มื้อต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 68.1 และ 67.3 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคือ การรับประทานอาหารหรือขนมจุบจิบ รองลงมาคือ การรับประทานอาหารมื้อเย็นปรติมาณมากกว่า มื้ออื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 24.7 และ24.3 ตามลำดับ การบริโภคชนิดของอาหารที่เหมาะสมและปฏิบัติ 5-7 วันต่อสัปดาห์มากที่สุด คือ การรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น ปลา หมู ไก่ รองลงมาคือ การดื่มนมรสจืดหรือนมพร่องมันเนย คิดเป็นร้อยละ 70.5 และ 38.6 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคชนิดอาหารที่ไม่เหมาะสม คือ การดื่มนมเปรี้ยวนมรสหวานหรือนมรสช๊อกโกแลต รองลงมาคือ การรับประทานขนมถุงขบเคี้ยว กรุบกรอบ เช่นมันฝรั่ง ข้าวเกรียบ คิดเป็นร้อยละ 33.9 และ10.4 ตามลำดับ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายยังไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 50.6 และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 42.2 กิจกจจมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือปัดฝุ่น-กวาดบ้าน และเดินเร็ว ปัจจัยด้านเพศ และประวัติครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 โดยเพศชายมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน1.82 เท่าของเพศหญิงและนักเรียนที่มีประวัติครอบครัว (บิดาและ/หรือมารดา) มีภาวะอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะโภชนาการเกิน 3.46 เท่า ของนักเรียนที่ประวัติครอบครัวไม่มีภาวะอ้วนลงพุง ส่วนรายได้ของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 พฤติกรรมการรับประทานอาหารครอบ 5 หมู่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือขนมจุบจิบ พฤติกรรมการชอบคุยหยอกล้อกันขณะรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น แหนม ปลาร้า มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/329
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_128.pdf4.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น