กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/329
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorขันทอง สุขผ่อง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/329
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เพศ ประวัติครอบครัว รายได้ของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิต "พิบุูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 251 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ไคว์-แสควร์ และอัตราเสี่ยง (Odds ratio) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 65.7 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 27.5 และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.8 พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและปฏิบัติ 5-7 วันต่อสัปดาห์มากที่สุดคือ การรับประทานอาหารมื้อเช้า รองลงมาคือ การรับประทานอาหารมื้อเช้า กลางวัน เย็น ครบ 3 มื้อต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 68.1 และ 67.3 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคือ การรับประทานอาหารหรือขนมจุบจิบ รองลงมาคือ การรับประทานอาหารมื้อเย็นปรติมาณมากกว่า มื้ออื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 24.7 และ24.3 ตามลำดับ การบริโภคชนิดของอาหารที่เหมาะสมและปฏิบัติ 5-7 วันต่อสัปดาห์มากที่สุด คือ การรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น ปลา หมู ไก่ รองลงมาคือ การดื่มนมรสจืดหรือนมพร่องมันเนย คิดเป็นร้อยละ 70.5 และ 38.6 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคชนิดอาหารที่ไม่เหมาะสม คือ การดื่มนมเปรี้ยวนมรสหวานหรือนมรสช๊อกโกแลต รองลงมาคือ การรับประทานขนมถุงขบเคี้ยว กรุบกรอบ เช่นมันฝรั่ง ข้าวเกรียบ คิดเป็นร้อยละ 33.9 และ10.4 ตามลำดับ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายยังไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 50.6 และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 42.2 กิจกจจมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือปัดฝุ่น-กวาดบ้าน และเดินเร็ว ปัจจัยด้านเพศ และประวัติครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 โดยเพศชายมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน1.82 เท่าของเพศหญิงและนักเรียนที่มีประวัติครอบครัว (บิดาและ/หรือมารดา) มีภาวะอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะโภชนาการเกิน 3.46 เท่า ของนักเรียนที่ประวัติครอบครัวไม่มีภาวะอ้วนลงพุง ส่วนรายได้ของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 พฤติกรรมการรับประทานอาหารครอบ 5 หมู่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือขนมจุบจิบ พฤติกรรมการชอบคุยหยอกล้อกันขณะรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น แหนม ปลาร้า มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2550 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectนักเรียน - - โภชนาการth_TH
dc.subjectบริโภคกรรมth_TH
dc.subjectบริโภคนิสัยth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeHealth behaviors and factors related to overweight in students of the demonstration school at Burapha university
dc.typeResearch
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate food consumption behavior exercise behavior and the relationship between factors related to overweight, such as gender, family history of obesity, family income, food consumption behavior and exercise behavior. The subjects for the study were 251 students in secondary school grades 7-9 attending the demonstration school at Burapha University, selected by stratified random sampling. Data were collected by interviewing the students and statistically analyzed, using frequencies, percentages, Chi-square test and Odds ratio. The results of the study revealed that 65.7% of the subjects were in the normal range of nutritional status, 27.5% were overweight and 6.8% were in the lower range of nutritional status. The most common food consumption behaviors for 5-7 days per week were that 68.1% had breakfast and 67.3% had 3 meals/day, but unhealthy practices included 24.7% consuming food when not hungry and 24.3% had more than enough for dinner. As for the type of food, it was found that 70.5% of the subjects consumed meat, 38.6% consumed fresh milk or low fat milk, 33.9% consumed sweet milk and 10.4% consumed snacks. The results for exercise behaviors demonstrated that 50.6% of the subjects engaged in less than normal physical activities, while 42.2% engaged in proper physical activities, exercising by cleaning the house and jogging. There were statistically significant relationships between gender, family history of obesity and being overweight. The estimated risk ratio of male and female was 1.82 and the risk ratio of family history of obesity was 3.46, but no significant relationship between family income and being overweight. Furthermore, the food consumption behaviors that had a significant relationship with being overweight were consumed five food groups, consumed when not hungry, consumed while playing and consumed non-cooked food or raw food, but there was no significant relationship between exercise behavior and being overweight.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_128.pdf4.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น