กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3285
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Bird diversity survey in Burapha University area, Chon Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ วุฒินันท์ ม่วงมี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความหลากหลาย นก |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | การสำรวจความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2557 โดยวิธีการสำรวจตามจุดกำหนด มีความถี่ในการสำรวจ 1 เดือนต่อครั้ง พบนกจำนวนทั้งสิ้น 60 ชนิด จาก 39 วงศ์ 12 อันดับ โดยอันดับนกจับคอนมีจำนวนชนิดสูงที่สุด (33 ชนิด) รองลงมา คือ อันดับนกกระสา (7 ชนิด) อันดับนกตะขาบ (6 ชนิด) อันดับนกเขา (4 ชนิด) อันดับนกแอ่น (2 ชนิด) และอันดับนกคัคคู (2 ชนิด) ตามลำดับ สถานภาพตามฤดูกาลแบ่งเป็นนกประจำถิ่น 45 ชนิด นกอพยพ 14 ชนิด และนกอพยพผ่าน 1 ชนิด ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากชนิดของนกในเขตพื ้นที่มหาวิทยาลัยบูรพาตลอดทัั้งปี มีค่าเท่ากับ 2.44 โดยเดือนตุลาคมมีค่าดัชนีความหลาก ชนิดสูงที่สุดขณะที่เดือนสิงหาคมมีค่าดัชนีความหลากชนิดของนกต่ำที่สุด (H’: 2.66และ 2.15 ตามลำดับ) สามารถจัดแบ่งระดับความถี่ของการปรากฏออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ นกที่พบบ่อยมาก (27 ชนิด) นกที่พบบ่อย (8 ชนิด) นกที่พบปานกลาง (9 ชนิด) นกที่พบได้น้อย (5 ชนิด) และนกที่พบได้ยาก (11 ชนิด) เมื่อวิเคราะห์ค่าความชุกชุมสัมพัทธ์พบว่า นกพิราบป่า (Columba livia) เป็ นนกที่พบชุกชุมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) นกเขาชวา (Geopelia striata) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) และนกเอี้ยงหงอน (Acridotheres grandis) นอกจากนี้จากการตรวจสอบสถานภาพด้านการอนุรักษ์จากบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือบัญชีแดง พบนก 2 ชนิด ได้แก่ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri) และนกกินปลีคอสีน้ำตาล (Anthreptes malacensis) ซึ่งถูกจัดเป็นนกชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ส่วนสถานภาพด้านการอนุรักษ์ในประเทศไทย พบนก 2 ชนิด ได้แก่ นกขุนทอง (Gracula religiosa) และนก กระจาบธรรมดา (Ploceus philippinus) ซึ่งเป็นชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากผลการศึกษาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเขตพื้นที่สีเขียวในเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของนก ท้ายสุดมีข้อแนะนำให้ทำการติดตามความหลากหลายของนกในระยะยาวและจำกัดการรบกวนจากมนุษย์เพื่อพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3285 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
sci21n2p260-279.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น