กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3284
ชื่อเรื่อง: แพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจ: การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลบริเวณอ่าวไทยตอนใน ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Economic zooplankton : Seasonal variation in the inner Gulf of Thailand during 2009-2011
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมถวิล จริตควร
ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
อลงกรณ์ พุดหอม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ความชุกชุม
อ่าวไทยตอนใน
แพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของแพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจบริเวณอ่าวไทยตอนใน ปี พ.ศ. 2552-2554 เก็บตัวอย่างทั้งหมด 22 สถานี แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ คือ บริเวณปากแม่น้ำ บริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของอ่าวไทย บริเวณกลางอ่าวไทยตอนใน และบริเวณปากอ่าวไทยตอนในพบแพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ 7 กลุ่มได้แก่ ตัวอ่อนกุ้ง ตัวอ่อนกั้ง ตัวอ่อนปู ตัวอ่อนกุ้งมังกร ตัวอ่อนหอยสองฝาตัวอ่อนหอยฝาเดียว และไข่ปลากับลูกปลา เมื่อพิจารณาตามพื้นที่พบว่าแพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้ง 7 กลุ่มมีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุด คือบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของอ่าวไทยมีค่าเท่ากับ 13.37X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือบริเวณปากอ่าวไทยตอนใน บริเวณปากแม่น้ำ และบริเวณกลางอ่าวไทยตอนใน พบความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 11.95X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร, 10.43X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร และ 7.96X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกพบความหนาแน่นน้อยที่สุดเท่ากับ 7.00X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร ส่วนการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของแพลงก์ตอนสัตว์เศรษฐกิจทั้ง 7กลุ่ม ส่วนใหญ่พบชุกชุมในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน ยกเว้นกลุ่มไข่ปลากับลูกปลา โดยมีความชุกชุมเฉลี่ยในฤดูแล้งและฤดูฝน เท่ากับ 10.63X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร และ 9.49X10 3 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3284
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
sci21n2p188-203.pdf944.18 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น