กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3283
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเบื้องต้นของคุณค่าทางอาหารของอาร์ทีเมียที่เสริมด้วยแพลงก์ตอนพืช และผลต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus Herre, 1927) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Preliminary study on the nutritional content of Artemia fed mixed microalgal diets and their effect of the reproduction of captive Bred Green Mandarinfish (Synchiropus splendidus Herre, 1927) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จารุนันท์ ประทุมยศ สุพรรณี ลีโทชวลิต ศิริวรรณ ชูศรี ณิษา ศิรนนท์ธนา มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | การสืบพันธุ์ คุณค่าทางอาหาร ปลาแมนดารินเขียว อาร์ทีเมีย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | อาร์ทีเมียเป็นอาหารมีชีวิตที่ใช้เลี้ยงปลาแมนดารินเขียว Synchiropus splendidus ซึ่งเป็นปลาที่มีพฤติกรรมการกินอาหารช้า แต่อย่างไรก็ตามขนาด และคุณค่าทางอาหารที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว ควรต้องมีการศึกษา ทำการทดลองเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียว (F1) เริ่มต้นอายุ 14 เดือนจำนวน 12 คู่ ในตู้กระจกบรรจุน้ำเค็ม 90 ลิตร กินอาหารทดลอง 4 ชนิดวันละ 2ครั ้ง 1) อาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั ้ง 2)อาร์ทีเมียแรกฟัก 0.5 ตัว/มล/ครั้ง 3)อาร์ทีเมีย ผสมระหว่างตัวเต็มวัยและอาร์ทีเมียแรกฟัก อัตราส่วน 2 ตัว/ลิตร/ครั้ง: 0.5 ตัว/มล/ครั้ง และ 4)อาร์ทีเมียผสมระหว่างตัวเต็มวัยและอาร์ทีเมียแรกฟัก อัตราส่วน 1 ตัว/ลิตร/ครั้ง:0.5ตัว/มล/ครั้ง ทำการเลี้ยงอาร์ทีเมียด้วยสไปรูไลนาอบแห้งและเสริมสารอาหารอาร์ทีเมียทุกวันด้ วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันระหว่างTetraselmis gracilis และ Isochrysis galbana หรือ T. gracilis และ Nanochrolopsis oculata เป็ นเวลา 1-3 ชม ผลการทดลองพบว่าอาร์ทีเมียแรกฟักมีโปรตีนและไขมันสูงกว่าอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยกินแพลงก์ตอนพืชผสม T. gracilis และ N. oculata มีโปรตีนสูงกว่าอาร์ทีเมียกิน T.gracilis และ I. galbana แต่อาร์ทีเมียเหล่านี ้มีไขมันไม่แตกต่างกัน อาร์ทีเมียทั้งสองขนาดมีกรดไขมันที่จำเป็นขนาดโซ่ยาว eicosapentaenoic acid 3% แต่ไม่มีกรดไขมัน docosahexaenoic acid อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยที่กินแพลงก์ตอนพืชผสมมี arachidonic acid 1% แต่ไม่พบกรดไขมันชนิดนี ้ในอาร์ทีเมียแรกฟัก ผลการทดลอง 9เดือนพบว่าปลา S. splendidus 1 คู่ที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ออกไข่เมื่ออายุ 19 เดือน ปลาออกไข่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ไข่ปลามีปริมาณ 48 – 253 ฟอง (ขนาดเฉลี่ย 0.78 ± 0.02 มม) จำนวนไข่ที่ได้รับการผสมพัฒนาและเป็นตัวอ่อน เพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งการออกไข่แสดงว่าการเสริมสารอาหารในอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันและให้ปลาแมนดารินเขียว (F1) อายุ 14 เดือน กินอัตราอย่างน้อย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อวันเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน มีสารอาหารพอเพียงในการเลี ้ยงปลา S. splendidus ในที่กักขังและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเสริมสารอาหารในอาร์ทีเมียที่เหมาะสมควรทำการวิจัยต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3283 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
sci21n2p152-165.pdf | 358.23 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น