กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3276
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้านในกลุ่มชาวไทยกูย อีสานใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the local wisdom transmission process Thai Kui silk weaving in Southern Isan, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง ศรีวรรณ ยอดนิล ชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทอผ้า - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กูย ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาบริบทชุมชน และความเป็นมาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม และพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดของอีสานใต้ ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านอาลึ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนหมู่บ้านดงกระทิง จังหวัดบุรีรัมย์ และชุมชนหมู่บ้านตาโกน จังหวัดศรีสะเกษ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติการพัฒนากระบวนการอนุรักษ์ลวดลายผ้าไหมบ้านของชาวไทยกูย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอ่งโคราช ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมที่สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมระบบทุนนิยม มีประเพณีและวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา มีการทอผ้าไหม เมื่อว่างจากการทำนา โดยการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริม 2.กระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม ของชุมชนชาวกูยในอีสารใต้ ดำเนินการโดย การวางแผนการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานและมีผู้รับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนเตรียมการขั้นตอนการประชุมวางแผนการปฏิบัติการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ขั้นตอนการมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเกิดการปฏิบัติฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมดั้งเดิมที่สูญหายโดยการทอขึ้นมาใหม่จากภูมิรู้ของผู้อวุโส มีจำนวน 6 ลาย 3.ผลจาการพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ได้ลายผ้าไหมจำนวน 16 ลาย คือ ประยุกต์ผลมผสานจากลวดลายดั้งเดิม จำนวน 8 ลาย และการประยุกต์วิถีชีวิตของชาวไทยกูยผสมผสานลวดลายดั้งเดิมเป็นลายใหม่ จำนวน 8 ลาย จากการปฏิบัติการพัฒนาลายผ้า พบรูปแบบการถ่ายทอดสืบทอดความรู้และการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ 1) กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัว 2) การถ่ายทอดและสืบทอดจากคนภายนอกครอบครัว 3) การเรียนรู้ด้วยตัวเอง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3276 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusoc11n1p246-257.pdf | 147.03 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น