กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3268
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทร์ชลี มาพุทธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์
นักศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 338 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและวัดความฉลาดทางอารมณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปรับแก้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 7.87, ค่า p เท่ากับ 0.99, ที่องศาความเป็นอิสระ เท่ากับ 4, ค่า GFI เท่ากับ 0.99, AGFI เท่ากับ 0.96 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.05 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ตัวแปรผู้ปกครอง ตัวแปรนิสิตและตัวแปรเพื่อนมีอิทธิพลทางตรงต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 79 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวแปรแฝงความฉลาดทางอารมณ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ด้านดี รองลงมา ด้านเก่ง และด้านสุข ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc11n1p123-135.pdf157.64 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น