กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3266
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจันทร์ชลี มาพุทธ
dc.contributor.authorสมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.authorวัลภา พงษ์พันธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:16Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:16Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3266
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก 2) ศึกษารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก และ3) ศึกษาวิธีการส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 72 คน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจำนวน 113 คน ครูสอนภาษาจีนจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์เชิงลึกครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 10 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่มจากผู้บริหารแผนการสอนภาษาจีน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้บริหารศูนย์ภาษาจีน ผู้ประกอบการธุรกิจการสอนภาษาจีนเอกชน ครูสอนภาษาจีนสัญชาติจีนที่มีประสบการณ์ด้านการสอนภาษาจีนในประเทศไทยมากว่า 10 ปี และครูสอนภาษาจีนดีเด่น จำนวน 8 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกรายด้านตามสมรรถนะหลักมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง และสมรรถนะประจำสายงานมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานของครูสอนภาษาจีนในภาคตะวันออก ตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานไม่แตกต่างกัน 2. รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน มีดังนี้ 1) พัฒนาความรู้ 2) พัฒนาทักษะภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3) พัฒนาเทคนิคการสอนและผลิตสื่อ 4) พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่น 5) พัฒนาทักษะการวิจัยและการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน 6) สร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู 3) วิธีการส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน ในระดับโรงเรียน มี 3 วิธี คือ1) จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ 2) จัดโครงการภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3) จัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ส่วนระดับนโยบายมี 4 วิธี คือ 1) จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสอนภาษาจีน 2) จัดตั้งเครือข่ายครูสอนภาษาจีน 3) ส่งเสริมครูและโรงเรียนต้นแบบ 4) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยจีนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.subjectครูภาษาจีน - - ไทย (ภาคตะวันออก)
dc.subjectการพัฒนาบุคลากร
dc.titleการส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe competency promotion of Chinese language eachers in secondary schools in teh Eastern Region of Thailanden
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume11
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study: 1) the performance competency of Chinese language teachers in secondary schools in Eastern Region of Thailand; 2) the model competency promotion of Chinese language teachers; and 3) the competency promotion of Chinese language teachers. The sample consisted of 72 chairs of the subject group of foreign languages, 113 teachers from the foreign languages subject group, and 108 Chinese language teachers. The instruments used for the data collection were a five – level rating scale questionnaire and an indepth interview for 10 Chinese language teachers in the Eastern Region of Thailand. 8 of focus group approach was employed among the Chinese program directors, secondary school directors, Chinese program administrators, entrepreneurs of private business in teaching Chinese, Chinese native teachers having more than 10 years of Chinese teaching experience in Thailand, and the most outstanding Chinese language teachers. The results revealed as follows: 1. The existing situation of the competency performance of the Chinese language teachers in secondary schools in the Eastern Region of Thailand, as a whole, was rated at high level of competency. When considering each particular aspect of core competency, it was also found that the quality of Chinese language teachers was rated at a high level, and at a medium level in the aspect of functional competency. No significant differences were found from the comparison of the opinions towards the existing competency performance of the Chinese language teachers in secondary schools in the Eastern Region of Thailand between the aspects of core competency and functional competency. 2. The model of competency promotion of Chinese language teachers in secondary schools in the Eastern Region of Thailand classified according to the core competency and functional competency included: 1) knowledge development; 2) Chinese language communicative skills development; 3) teaching technique and instruction material development; 4) local curriculum development; 5) research skills and classroom activities development; and 6) attitude enhancement for teaching profession. 3. The promotion competency of Chinese language teachers in secondary schools in the Eastern Region of Thailand classified according to the core competency and functional competency should be carried out as follows: As for school policy: 1) learning exchange forum arrangement; 2) Chinese language communicative skills project management; and 3) learning resources and media management. As for government policy: 1) establishment of an institute for development of Chinese language; 2) building up the network for Chinese language teachers; 3) promotion of the base model for Chinese language teachers and schools; and 4) enhancement of the cooperation between Thailand and china.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page98-111.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc11n1p98-111.pdf170.15 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น