กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3228
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developmeng a self-directed learning instructional model for mathayomsuksa three students by using applied constructivism theory to learning with a research process |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร เรวดี จันทร์รัศมีโชติ สมโภชน์ อเนกสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ทฤษฎีสรรคนิยม สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างรูปแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (is) จำนวน 186 คน และเรียน จำนวน 571 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการทดลองรูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาขึ้น ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน ได้แก่กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่ม ควบคุม จำนวน 40 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบสอบถาม การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า effect size และค่าเปอร์เซนไทล์ ผลการวิจัย 1) ความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด คือการเตรียมความพร้อมของตนเอง รองลงมา คือ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในสถานการณ์อื่นได้ ด้านครูมีความต้องการพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด คือ การสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือ ส่งเสริม ให้นักเรียนหยั่งเห็นปัญหาได้ตามความเป็นจริงโดยใช้กระบวนการวิจัยในการแสวงหาความรู้ใหม่ และนำข้อค้นพบไปนำเสนอต่อสังคม 2) รูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 11 ขั้นตอนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเตรียมความพร้อม ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมการกระตุ้นด้วยปัญหา ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การหาคำหรือประโยคที่สำคัญ ส่วนที่ 2 การพัฒนาความคิด ได้แก่ ขั้นตอนที่ 5 การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความคิด ขั้นตอนที่ 6 จัดระบบการทำงานและลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 7 ระดมความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่วนที่ 3 การลงมือกระทำได้แก่ ขั้นตอนที่ 8 ฝึกปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูล และฝึกการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 9 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างหรือเขียนวิธีการในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 10 ตรวจสอบสมเหตุสมผล ขั้นตอนที่ 11 นำข้อมูลที่จัดระบบแล้วมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป 3) พยบว่าประสิทธิผลมาจากมากไปหาน้อย คือ ความรับผิดชอบการเรียนของตน มีความรักการเรียน การมีมโนทัศน์ตนเอง ความสามารถใช้ทักษะพื้นฐาน และทักษะการแก้ปัญหา การเปิดโอกาศต่อการเรียนรู้ ความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการมองอนาคตในแง่ดี |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3228 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edu26n3p14-27.pdf | 214.48 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น