กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/320
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวโน้มความต้องการบัณฑิตในสาขาบรรณาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Trenda of Demand for Information Science and Editing Graduates
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพภา ปลีหะจินดา
กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์
ศุภรางศุ์ อินทรารุณ
ชิตาภา สุขพลำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การบรรณาธิกร
บรรณาธิการ
บัณฑิต - - อุปทานและอุปสงค์ - - วิจัย
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและคุณสมบัติบัณฑิตสาขาบรรณาธิการที่หน่วยงานผลิตและเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์คาดหวัง และเพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนสาขาบรรณาธิการ โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานผลิตและเผยแพร่สิ่งพิมพ์ จำนวน 219 แห่ง และจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบอาชีพในวงการบรรณาธิการ จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า สำนักพิมพ์ต้องการบรรณาธิการที่มีคุณสมบัติในวิชาชีพเกือบทุกด้านในระดับมาก โดยต้องการผู้มีการแสดงออกทางความคิดได้อย่างถูกต้องกับกาลเทศะเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ สามารถตรวจแก้ต้นฉบับได้ถูกต้อง มีทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างดีเยี่ยม มีความคิดที่เป็นอิสระบนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีมุมมองที่กว้างและลึกซึ้งต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ และเป็นผู้มีวรรณศิลป์สื่อภาษาได้เหมาะกับงานเขียนแต่ละประเภท ส่วนคุณสมบัติทั่วไป สำนักพิมพ์ต้องการบรรณาธิการที่มีจริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน และความประณีต ละเอียด รอบคอบ ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความต้องการด้านคุณสมบัติทั่วไปกับคุณสมบัติในวิชาชีพ พบว่าสำนักพิมพ์เกือบทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับคุณสมบัติทั่วไปสูงมากกว่าคุณสมบัติในวิชาชีพ ส่วนจำนวนบัณฑิตสาขาบรรณาธิการ ที่สำนักพิมพ์ต้องการรับเข้าทำงานนั้น สำนักพิมพ์ จำนวน 50 แห่งระบุว่าภายในระยะเวลา 5 ปี ต้องการรับบัณฑิต 561 คน จากการประชุมกลุ่มเป้าหมาย พบว่า อาชีพบรรณาธิการมีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคมมาก เนื่องจากต้องมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการใช้ภาษาและการแปล ส่วนคุณลักษณะของผู้ที่จะเป็นบรรณาธิการที่ดีนั้น จะต้องรักการอ่าน รักการทำงานด้านหนังสือ และมีจริยธรรม ในการพัฒนาหลักสูตร ด้านบรรณาธิการจึงต้องมุ่งฝึกคนเพื่อทำหน้าที่บรรณาธิการตรวจแก้ต้นฉบับ โดยมีวิชาด้านจริยธรรมของบรรณาธิการต้นฉบับเป็นวิชาหลัก เพราะบรรณาธิการต้นฉบับต้องมึความรับผิดชอบทั้งทางกฎหมาย สังคม และจริยธรรม โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรพัฒนาหลักสูตรพิเศษสำหรับผู้ี่ทำงานบรรณาธิการอยู่แล้ว แต่ไม่มีคุณวุฒิบรรณธิการด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/320
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_064.pdf5.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น