กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3209
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธร สุนทรายุทธ เบญจา ศิริผล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | งบประมาณ - - การบริหาร สาขาการศึกษา โรงเรียน - - งบประมาณ - - การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สู่ความเป็นเลิศ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต (EDFR) ในการพัฒนารูปแบบและเทคนิคการศึกษาพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR) ในการหาความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ของสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ประเทศไทยใช้ระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ กระบวนการงบประมาณที่นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์สำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในครั้งนี้ใช้ กระบวนการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนและจัดทำงบประมาณ พบแนวทางในการปฏิบัติ 23 ข้อ 2) การอนุมัติงบประมาณ พบแนวทางในการปฏิบัติ 7 ข้อ 3) การบริหารงบประมาณ พบแนวทางในการปฏิบัติ 43 ข้อ และ 4) การติดตามประเมินผล พบแนวทางในการปฏิบัติ 14 ข้อ รูปแบบที่ได้มีคุณสมบัติของความเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ แนวทางที่สำคัญคือ จะต้องมีการบริหารรายได้ คิดคำนวณต้นทุนทุกขั้นตอน สร้างความหลากหลายในการเข้าถึงสินค้าหรือบริหาร เพื่อลดการผูกขาด แยกภารกิจ ประจำกับภารกิจตามนโยบายหลักของต้นสังกัดให้ชัดเจนและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน ลดการระดมทุน ลดการใช้ดุลยพินิจ บริหารด้วยความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีเหตุผล มีแผนงานบำรุงรักษาสินทรัพย์ให้ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ มีการตรวจสอบภายใน ในเชิงรุกและเชิงสร้างสรรค์ รายงานผลการดำเนินงานด้วยรูปแบบที่ง่าย ต่อการเข้าใจ นอกจากนี้จะต้องปฏิบัติและยึดตามกฎระเบียบที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด แนวทางในการบริหาร งบประมาณของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สู่ความเป็นเลิศ ทั้ง 86 ประการได้รับการยืนยันความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจากผู้บริหารโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3209 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusoc10n1p223-234.pdf | 670.35 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น