กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3157
ชื่อเรื่อง: | ประสบการณ์การใช้จิตวิทยาการกีฬาของนักกีฬาโอลิมปิกไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sport psychology experiences of Thai Olympians |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร สมโภชน์ อเนกสุข ชูศักดิ์ พัฒนะมนตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | กีฬา - - แง่จิตวิทยา นักกีฬา - - ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฎการณ์วิทยาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้จิตวิทยาการกีฬาโอลิมปิกไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยที่เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 28 จำนวน ทั้งสิ้น 18 คน (หญิง 11 คน ชาย 7 คน) จาก 7 ชนิดกีฬาและตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลและข้อสรุปโดยนักกีฬาผู้ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลแนวปรากฏการณ์วิทยา ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การใช้จิตวิทยาการกีฬาของนักกีฬาโอลิมปิกไทย แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเริ่มต้นของการเป็นนักกีฬา พบว่านักกีฬาใช้การเรียนรู้จากตัวแบบ เพื่อสร้างประสบการณ์การเล่นกีฬา ใช้แรงจูงใจภายนอกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตั้งเป้าหมายและสร้างแรงผลักดันไปสู่การเป็นนักกีฬา ช่วงการพัฒนาจากนักกีฬาธรรมดาไปสู่นักกีฬาทีมชาติไทย พบว่า นักกีฬาใช้ความสำเร็จที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาเพื่อทำให้เกิดความตั้งใจ เกิดกำลังใจในการฝึกซ้อมและแข่งขัน สรา้งความภาคภูมิใจความรู้สึกที่ดีกับตนเองทำให้เกิดการพัฒนาตนเองจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย และใช้การฝึกเทคนิคทักษะทางจิตวิทยาการกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพทางกีฬา ทำให้ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ และช่วงสุดท้ายการคงสภาพการเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยจนถึงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พบว่านักกีฬาใช้การตั้งเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ เพื่อกระตุ้นและทำให้นักกีฬาเกิดความพยายามที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมาย จากผลการวิจัยแสดงให้เห้นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักกีฬา เช่น พ่อแม่ ผู้ฝึกสอน เป็นต้นเป็นแบบอย่างของการเล่นกีฬาในช่วงต้น และจัดกิจกรรมหรือให้ประสบการณ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในช่วงฝึกซ้อม ตนเมื่อนักกีฬามีความสามารถระดับโอลิมปิก จึงนำการใช้การตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จมาใช้กับนักกีฬา The qualitative phenomenological research was aimed to study psychological experience among Thai Olympians Data was collected using in depth interview methods with 18 athletes (11 females. 7 males) who participated in the 28 th Olympic Games. 2004, from 7 types of sport Key informants via a member checking process reconfirmed the data credibility and conclusions. Analysis revealed that the psychological experience was divided into 3 main periods: pre-national (begining penod). national representative penods and Olympic penods. During the pre-national period. Thai Olympians participated in competitive sport by the motivation of their parents siblings, and by external motivations in order to become sport competitors. during the national representative period. these athletes continue to be national representative by using their success from the competition to build their attention, concentrating and willingness to training and compete Self esteem and pride in themseleves are other sources of the development to become Thai national representatives. Psychological skill techniques was used during the period of Olympic participation to reach their sporting potential. Finally, the setting of sucessful goals was the main technique employed to meet the performance goals during this period. The findings can conclude that significant others. e.g. parents and coaches. used as good models during early period of sporting experience The good experiences and activities gained throughout training and competition should also be provided. Up until the athletes reach their Olympic level. goal setting techniques are the major technique employed. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3157 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p19-p32.pdf | 231.62 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น