กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/313
ชื่อเรื่อง: | การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลเกาะช้างใต้ จังหวัดตราด |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วุฒิชาติ สุนทรสมัย ธนาวุฒิ โรจนรุ่งทวี เกศริน อิ่มเล็ก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การตลาด การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรุ้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและผู้สนใจประกอบการท่องเที่ยวที่พักโรงแรมแบบโฮมสเตย์ให้มีควยามรู้ด้านการตลาดในการประกอบการท่องเที่ยว ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ให้มีความรู้ด้านการตลาดในการประกอบการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ และศึกษาปัญหาในการประกอบธุรกิจตลอดจนส่งเสริมการร่วมมือกันของผู้ประกอบการแบบมีส่วนร่วมเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดจำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 6ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง โดยกำหนดพื้นที่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา สื่อประกอบเป็นคู่มือ และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจ และระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดซึ่งพิจารณาโดยอาศัยการจัดการเชิงระบบ 3 ประการดังนี้ 1. ปัจจัยนำเข้า ผู้วิจัยได้กำหนดแนวคิดในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดโดยใช้กลวิธีเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเป็นหลัก การปรึกษา หารือ โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการประชุมชี้แจงแก่ผู้สนใจเข้ารับการอบรมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งสามารถกำหนดสถานที่ เนื้อหา ทคนิค วิธีการ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 2. การดำเนินงาน ผู้วิจัยและชุมชนร่วมมือกันประชาสัมพันธ์โครงการ และการดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดตามที่กำหนดไว้ 3. ผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ประเมินผลลัพธ์ของโครงการด้านความพึงพอใจและการประยุกต์ใช้ดังนี้ 3.1 ผู้รับการฝึกอบรมความรู้ด้านการตลาด จำนวน 9 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระดับ 41 -45 ปี การศึกษาอ่านออกเขียนได้ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 3.2 ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความพึงพอใจมากต่อการบรรยายที่สนุกไม่น่าเบื่อ เนื้อหามีความน่าสนใจ ระยะเวลาที่เหมาะสม และการบริการอาหารว่าง/อาหารกลางวัน รวมทั้ง การได้ฝึกปฏิบัติจริง และนำไปใช้ได้จริง 3.3 ผลลลัพธืจากการถ่ายทอดฝึกอบรมมีความสอดคล้องด้านวัตถุประสงค์และเนื้ อหาของหลักสูตร เช่น โฮมสเตย์ในฝันของชาวเกาะช้าง บทเพลงที่ร่วมกันร้องและแต่งขึ้น โปรแกรมการท่องเที่ยว ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบได้ว่าผู้ประกอบการมีความรู้พื้นฐานด้านการบริการอยู่มากแต่ยังขาดความช่วยเหลือด้านการตลาดอย่างถูกต้อง และสามารถทราบปัญหาที่สำคัญการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราด คือ การที่ผู้ประกอบการแต่ละบ้านต่างคนต่างทำ ขาดความร่วมมือของชุมชนเอง และขาดการประสานกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น แม้ว่าผู้ประกอบการอาจจะเป็นญาติพี่น้องกัน ข้อเสนอแนะด้านการวิจัย คือ การติดตามผลการถ่ายทอดองค์ความมรู้ด้านการตลาดเพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้อาศัยความสัมพันธ์ในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงเครื่อข่ายชุมชนที่เป็นรูปธรรมทีค่มิได้มุ่งเน้นเป้าหมายทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มุ่งการรู้รักสามัคคีเป็นแก่นแท้ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ และระบุปัญหาของชุมชนรายรอบที่ได้รับผลกระทบต่อการเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่ต้องการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/313 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น