กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3095
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกับความพึงพอใจในการศึกษาระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของนิสิตศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
เดือนเพ็ญ จันทร์ขาว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารการศึกษา - - การศึกษาและการสอน
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา - - การตัดสินใจ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อและความพึงพอใจในการศึกษาระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของนิสิตศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยบุรพา จำแนกตามอายุ ภุมิภาคของสถานที่ทำงาน สถานภาพ รายได้ และโปรแกรมการศึกษา รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกับความพึงพอใจในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ สอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกับความพึงพอใจในการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านภาพลักษณ์ ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความพึงพอใจในการศึกษาระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 3. การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อจำแนกตามภูมิภาคของสถานที่ทำงาน สถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตาม อายุ รายได้ และโปรแกรมการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความพึงพอใจในการศึกษาต่อจำแนกตาม อายุ สถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตาม ภูมิภาคของสถานที่ทำงาน รายได้ และโปรแกรมการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกับความพึงพอใจในการศึกษาระดับการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของนิสิตศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3095
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial10n2p255_266.pdf154.53 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น