กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/307
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:25Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:25Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/307
dc.description.abstractการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชนขั้นสูงแบบ บูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยวิธีสตอริไลนืนี้จัดเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้วิธีการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานในชุมชน การปฏิบัติงานบนพื้นฐานของชุมชน และเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 8 คน นักวิจัยเป็นผู้สอน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบในพื้นที่และประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ร่วมสอนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการปฏิบัติงานของผู้เรียน สถานที่เรียนอยู่ในชุมชน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 70 หลังคาเรือน ประชาชนที่สำรวจ 299 คน ระยะเวลาในการจัดการเรียน การสอนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2547 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึง เดือนมีนาคม 2548 โดยให้วิธีการสตอริไลน์เป็นแนวทางการจัดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงคืของรายวิชา อาศัยการมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหารายละเอียดและวิธีการเรียนรู้โดยผู้เรียน และการสรุปความคิดโดยการใช้แผนที่จินตภาพ ทั้งนี้มีผู้สอน ประชาชน และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นผู้สะท้อนผลการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหา ทำการเก็บข้อมูลจากผู้เรียนจากประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสังเกต สัมภาษณ์ และแบบสอบถามผู้วิจัย ซึ่งเก็บข้อมูลแบบมส่วนร่วมโดยผู้วิจัย โดยทำการสังเกต บันทึกเสียง บันทึกภาพ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องและจดบันทึกเหตุการณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ส่วนการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนของผู้เรียนจากการเรียนการสอน ใช้แบบประเมินรายวิชา ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการทดสอบวิลคอกสัน (Wilcoxon sign ranks test) ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ สรุปได้จากการวิจัยเป็นวงจรที่ สำคัญของการวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล และการสะท้อนความคิด จำนวน 3 วงจร คือ วงจรที่ 1 เรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอน วงจรที่ 2 ระยะการพัฒนาตนในทักษะการเข้าถึงชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน วงจรที่ 3 ระยะมีทักษะการทำงานบนพื้นฐานชุมชนและการมีส่วนร่วมมากขึ้น 2. ทักษะการปฏิบัติงานในชุมชน ผู้เรียนทั้งหมดสามารถทำงานเป็นทีม และร่วมกับประชาชน มีความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานชุมชนมากขึ้น สามารถปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ดีขึ้นกว่าเดิมเกือบทุกกิจกรรม สามารถทำงานบนพื้นฐานของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ The purpose of this classroom action research was to develop a teaching-learning model for advanced community nursing practice by integrated method emphasizing student centered-learning with the storyline method, to develop community nurse skills, community based practical skills, and community participation practical skills. The samples were 8 nursing master’s students who took 101547 Advanced Community Nursing Practice. The researcher was the course instructor. Public health officers and people in the community were participant in the research. The target community consisted of 70 households of which 299 people were surveyed. The duration of teaching learning course was from November, 2004-March, 2005, during the 2th. semester of the 2004 academic year. The storyline method was the process of teaching used to meet the course objectives. The students used mind maps to summarize their learning after every period of the course. The data collection instruments were observation forms, interview forms, and questionnaires. The participatory observation method was used for data collection. This include direct observation, sound recording, picture taking, in depth interview, and quality data recording. Triangular techniques were used to confirm the data quality. The data was analyzed by content analysis and the Wilcoxon sign rank test. The result of the study are as follows: 1. The Integration of Teaching – Learning Process Development. The development process consisted of 3 cycles: 1)learning about teaching-learning method, 2)developing community approach and community participation skills, and 3)community based practical skills and further community participation skills. 2. The community Nursing Practical Skills. The students worked as team and work well with the community. They gained greater understanding and a better attitude toward working with the community. The student met all the course objectives and demonstrated greater ability than almost all the pretest objectives. Improved ability to work based on community resources and community participation.th_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ ปี 2548 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการศึกษา - - หลักสูตรth_TH
dc.subjectการศึกษาหลังมัธยมศึกษาth_TH
dc.subjectการสอนth_TH
dc.subjectการสอนแบบปฏิบัติการth_TH
dc.subjectระบบการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชนขั้นสูงแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยวิธีสตอริไลน์th_TH
dc.title.alternativeTeaching-learning model development for advanced community nursing practice by integrated method emphasizing student centered learning with the storyline methoden
dc.typeResearchth_TH
dc.year2549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_049.pdf7.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น